วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พบปะพูดคุยเกี่ยวกับโครงการสะพานมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลากับคณะทำงานโครงการสะพานจากส่วนกลาง

เมื่อวันพุธ ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09.00 -12.00 น. ที่ผ่านมา ทางโครงการสะพานมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมี ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดี เป็นประธานที่ประชุมได้พบปะพูดคุยกับคุณเดวิด คุณมาเรียล และคุณเอ๋ ซึ่งเป็นคณะทำงานโครงการสะพานจากส่วนกลาง พูดคุยเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมา และมี ดร.บุญสิทธิ์ ไชยชนะ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ดร.ตายูดิน อุสมาน อ.อารยา ชินวรโกมล เจ้าหน้าที่โครงการสะพานมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ห้องประชุม 2 ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษามหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา
ประเด็นสำคัญคือ ทางโครงการสะพานสงขลาต้องการให้ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาดำเนินกิจกรรมในส่วนของ PGI ต่อ ทาง ดร.บุญสิทธิ์ ไชยชนะ ได้กล่าวถึงกิจกรรม PGI ในปีนี้ว่า จากที่ได้มีการพูดคุยกันในเบื้องต้นคือจะใช้เครื่องมือที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นผู้ออกแบบ สร้างเครื่องมือ และนำเครื่องมือที่ได้ มารณรงค์ในพื้นที่ เครื่องมือนี้ทำเสร็จแล้วจะมีกระบวนการ การนำไปใช้อย่างไร และประเด็นนี้ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะชี้แจงการใช้เครื่องมือ วันที่ 11-12 มีนาคม 2557 จึงนำเสนอกิจกรรมในรูปแบบของการสำรวจ (survey) ต่อไป  
คุณมาเรียล ได้เสนอกิจกรรมของ PGI จะมีกิจกรรมอยู่ 2 กิจกรรม ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา สามารถดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ได้โดยไม่ต้องรอทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา สามารถออกแบบกิจกรรมได้เอง ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ อาจนำเครื่องมือของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่


อธิการบดี ได้กล่าวว่า กิจกรรมของ PGI การทำกิจกรรมนั้นไม่อยาก แต่ที่ผ่านมาทำแบบไม่ต่อเนื่อง ไม่จริงจัง ชั่วครั้งชั่วคราว อยากให้เกิดความต่อเนื่อง เกิดผลประโยชน์กับพื้นที่มากที่สุด และส่งผลต่อไปในอนาคต ทำอย่างไรให้ชุมชนได้ประโยชน์ ทำอย่างไรให้ชุมชนความสุข ให้ความสำคัญกับชุมชน เพราะมหาวิทยาลัยต้องอยู่ร่วมกับพื้นที่การทำกิจกรรมอะไรต้องระมัดระวัง เพราะเป็นพื้นที่ที่ละเอียดอ่อน
PGI มีทีมงานหลัก 3 ท่าน คือ 1) ผศ.สมศักดิ์ ด่านเดชา 2) อ.อารยา ชินวรโกมล และ 3) นายอับดุลย์เลาะ ยูโซ๊ะ ซึ่งการเก็บข้อมูลเบื้องต้น 1) ออกแบบเครื่องมือแล้วเก็บข้อมูลในพื้นที่ 2) จะเก็บข้อมูลในพื้นที่ที่ทำโครงการ คือ ตำบลพร่อน และตำบลท่าสาป  อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 3) ใช้เวลาไม่เกิน 2 อาทิตย์ 4) นำข้อมูลที่ได้มาสรุป วิเคราะห์ และเขียนรายงาน 5) ข้อมูลที่ได้จากพื้นที่อาจจะนำเสนอพร้อมกันในเวทีปิดโครงการที่อุบลราชธานี ดร.ตายูดิน อุสมาน ได้แจ้งกำหนดกิจกรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาที่จะดำเนินในโครงการจนถึงปิดโครงการที่อุบลราชธานี จากตารางกิจกรรมคุณมาเรียล เสนอให้นำเรื่องของ PGI เข้าปรึกษากับคณะที่ปรึกษาโครงการสะพานด้วย  และกิจกรรมที่ ดร.บุญสิทธิ์ ได้เสนอกิจกรรมของ PGI จะทำในรูปแบบของการสำรวจ (survey) แล้วนำไปเสนอที่เวทีที่อุบลราชธานี จะเป็นประโยชน์มาก เพราะจะได้รู้ว่าคำถามใดที่ควรจะปรับให้สอดคล้องกับพื้นที่ และเหมาะสมกับพื้นที่
กิจกรรมโครงการสะพานในปีต่อไป กิจกรรมที่โครงการสะพานจะจัดกิจกรรมขึ้นระหว่างอาจารย์หลักๆ ที่เคยร่วมงานกับโครงการ มาสรุปถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนร่วมกัน ในฐานะที่ตลอดเวลา 3 ปีที่ได้เข้ามาทำงานร่วมกันกับพลเมือง อะไรเป็นข้อสำเร็จ มีข้อท้าทายอย่างไร จะมีประเด็นในการพูดคุยกัน กิจกรรมนี้จะจัดประมาณช่วงเดือน มิถุนายน 2557 โครงการสะพานจะหมดสัญญากับทุกมหาวิทยาลัยในเดือนเมษายน 2557 แต่จะมีกิจกรรมของโครงการสะพาน เป็น กระบวนการในลักษณะของประกาศเพื่อที่จะให้องค์กร รวมทั้งมหาวิทยาลัย ที่มีความสนใจในเนื้อหา ได้เข้ามาสมัคร ซึ่งตอนนี้ยังอยู่ระหว่างการออกแบบประกาศและรูปแบบกิจกรรม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น