วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2555

งานมหกรรมการสร้างสำนึกพลเมืองเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลในท้องถิ่น ปี 2

     โครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ปี 2 จะจัดงานมหกรรมการสร้างสำนึกพลเมืองเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลในท้องถิ่น ปี 2  ในวันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม 2556 เวลา 08.00 - 16.30 น. ณ ห้องพิมมาดา โรงแรมปาร์ควิว อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มีรายละเอียดดังนี้


08.00 – 0๙.๐๐ น.                -  ลงทะเบียน

บรรยากาศและผลของเวทีนำเสนอผลงานวิจัยครั้งที่ 2 กลุ่มการวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ

      วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม 2555 เวลา 08.00-17.00 น. ณ ห้องประชุมปาหนัน โรงแรมปาร์ควิว จังหวัดยะลา คณะทำงานกลุ่มการวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning) จัดเวทีนำเสนอความก้าวหน้าของโครงการวิจัยให้แก่ผู้รับทุน ประจำปี 2555 จำนวน 19 โครงการ ประกอบด้วย นักศึกษาระดับปริญญาตรี 5 ทุน นักศึกษาระดับปริญญาโท 5 ทุน และภาคประชาสังคม 9 ทุน โดยปฏิบัติการวิจัยเพื่อถอดบทเรียนใน 9 พื้นที่ ในจังหวัดยะลา 5 พื้นที่ จังหวัดปัตตานี 2 พื้นที่ และจังหวัดนราธิวาส 2 พื้นที่
     สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดเวทีนำเสนอผลงานวิจัยครั้งนี้ เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการวิจัยครั้งที่ 2 หลังดำเนินการวิจัยเสร็จสิ้น และเพื่อปรับการนำเสนอผลงานวิจัยและการเขียนรายงานวิจัยตามข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการบริหารกลุ่มการเรียนรู้จากการปฏิบัติ อีกทั้งเพื่อคัดเลือกโครงการวิจัยผลงานดีเด่นเป็นตัวแทนนำเสนอผลงานวิจัยในเวทีใหญ่ในการปิดโครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ปี 2 ในวันที่ 6 มกราคม 2556 เวลา 08.00-16.30 น. ณ โรงแรมปาร์ดวิว และเตรียมการเพื่อเตรียมสรุปผลการวิจัยโครงการวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ นำเสนอเป็นโปสเตอร์ (Poster Presentation) ในงานนี้ด้วย
        ผลการจัดเวทีนำเสนอผลงานวิจัยครั้งที่ 2 สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ผู้วิจัยและคณะกรรมการดำเนินงานกลุ่มการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน ทั้งกระบวนการวิจัย การลงพื้นที่เป้าหมาย การถอดบทเรียน การเขียนรายงานการวิจัย เทคนิคการนำเสนอการวิจัย นับว่าเป็นประโยชน์ในด้านวิชาการชุมชนและมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้เป็นอย่างยิ่ง [ดูภาพเพิ่มเติม...]

วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมการนำเสนอผลงานวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ครั้งที่ 2 (ฉบับสมบูรณ์)

     โครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จะจัดให้มีการนำเสนอผลงานวิจัยเพื่อติดตามความก้าวหน้าครั้งที่ 2  ซึ่งเป็นการติดตามผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์และปรับแก้ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  โดยกำหนดจัดการนำเสนอผลงานวิจัยในวันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม 2555 ณ โรงแรมปาร์ควิว (ห้องประชุมปาหนัน และห้องประชุมจุฑาทัศน์) เวลา 08.00 - 17.00 น. โดยมีกำหนดการเบื้องต้นดังนี้

               08.00 – 08.30 น.      ลงทะเบียน
               08.30 – 09.00 น.      พิธีเปิดการอบรมปฏิบัติการ โดย ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ หัวหน้าโครงการ       
                                          สะพานเสริมสร้างประชาธิปไตยฯ เป็นประธานในพิธี               
                                           กล่าวรายงานโดย ดร. ศิริชัย นามบุรี หัวหน้าโครงการ Action Learning
               09.00 – 10.30 น.     นำเสนอความก้าวหน้าของโครงการวิจัย (แบ่งเป็น 2 กลุ่ม)

                 10.30 – 10.45 น.   รับประทานอาหารว่าง
               10.45 – 12.00 น.     นำเสนอความก้าวหน้าของโครงการวิจัย (แบ่งเป็น 2 กลุ่ม)
               12.00 – 13.00 น.      รับประทานอาหารกลางวัน
               13.00 – 14.30 น.      นำเสนอความก้าวหน้าของโครงการวิจัย (แบ่งเป็น 2 กลุ่ม)
               14.30 – 14.45 น.      รับประทานอาหารว่าง
               14.45 – 17.00 น.     - สรุปและการให้ข้อเสนอแนะโดยภาพรวมจากคณะกรรมการบริหารโครงการ
                                          - การนัดหมายการส่งบทความเพื่อเตรียมนำเสนอเป็น Poster Presentation
                                          - การนัดหมายเพื่อส่งเล่มรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ และเอกสารส่งมอบตาม                                              สัญญาการรับทุน
               17.00 น.               พิธีปิดกิจกรรมเวทีนำเสนอ  โดย ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์

รายละเอียดและข้อกำหนดในการนำเสนอ
   - ให้เวลานำเสนอคนละ 15 นาที  คณะกรรมการให้ข้อเสนอแนะ 15 นาที
   - แม่แบบสไลด์การนำเสนอสามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ (เป็นแนวทางการนำเสนอ)
   - นักวิจัยโปรดแต่งกายสุภาพในการนำเสนอ/ กรณีผู้รับทุนเป็นนักศึกษาให้แต่งกายชุดนักศึกษา
   - นักวิจัยต้องเตรียมรายงานการวิจัย 5 บท พร้อมส่วนประกอบที่ครบสมบูรณ์ ถ่ายเอกสารเสนอให้คณะกรรมการโครงการละ 4 เล่ม (ยังไม่ต้องเข้าปก) ส่งที่สำนักงานโครงการภายในวันที่ 26 ธ.ค. 55 เวลา 12.00 น.

วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เล่าเรื่องกิจกรรมแลกเปลียนเรียนรู้และศึกษาดูงานโครงการสะพานฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 16-20 ธันวาคม 2555

     คณะกรรมการดำเนินงานโครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เดินทางไปศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนกิจกรรมและการดำเนินงานประจำปี 2555 กับเครือข่ายโครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่างวันที่ 16-20 ธันวาคม  2555  ที่ผ่านมา จำนวน 10 คน นำทีมโดย ดร.บุญสิทธิ์ ไชยชนะ รองหัวหน้าโครงการสะพานฯ สมาชิกคณะทำงานในโครงการ ประกอบด้วย ดร.ศิริชัย นามบุรี  ดร.ตายุดิน อุสมาน คุณพงษ์พันธ์ ชัยเศรษฐสัมพันธ์  คุณวรรณกนก เปาะอีแตดาโอะ คุณกริยา ตระกูลศึกษา คุณดนยา สะแลแม  อ.อานิส พัฒนาปรีชาวงศ์ (มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์) คุณวาริษา วาแม และคุณมะดาโอะ สะเตงกูแว  การศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ นับเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับคณะกรรมการดำเนินงานโครงการสะพาน จึงนำมาเล่าเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่กันฟัง
       วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม 2555  เวลา 12.15 น. คณะศึกษาดูงานออกเดินทางจากสนามบินนานาชาติหาดใหญ่ จ.สงขลา  ถึงสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ เวลาประมาณ 13.45 น. และออกเดินทางจากสุวรรณภูมิเวลา 14.15 น. ถึงสนามบินขอนแก่นเวลา  15.50 น.  [ประมวลภาพเพิ่มเติม...]

วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

คณะกรรมการดำเนินงานโครงการสะพาน มรย. ศึกษาดูงานและเปลี่ยนเรียนรู้กับโครงการสะพาน ม.ขอนแก่น

      คณะกรรมการดำเนินงานโครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กลุ่มธรรมาภิบาลท้องถิ่น (Local Governance: LG) กลุ่มดัชนีธรรมภิบาลระดับจังหวัด (Provincial Governance Index: PGI) และกลุ่มวิจัยเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning: AL) มีกำหนดการเดินทางเพื่อศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ซึ่งเป็นหนึ่งในทั้งหมด 6 เครือข่ายโครงการสะพานฯ  ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการจาก USAID  ในปีงบประมาณ 2556 ประกอบด้วย  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  มหาวิทยาลัยนเรศวร  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช)  โดยมีกำหนดการเดินทางระหว่างวันที่ 16-20 ธันวาคม 2555 นี้
     สำหรับวัตถุประสงค์ของการศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ เพื่อนำคณะกรรมการดำเนินงานในแต่ละกลุ่มของโครงการ ซึ่งประกอบด้วย อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และภาคประชาสังคม เดินทางไปศึกษา หาประสบการณ์ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่เกิดจากการดำเนินงานในแต่ละกลุ่มที่ผ่านมา กับคณะทำงานของโครงการสะพานฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และลงพื้นที่ชุมชนในจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นพื้นที่เครือข่ายดำเนินงานของมหาวิทยาลัยขอนแก่น  โปรดติดตามรายงานการศึกษาดูงานครั้งนี้ในโอกาสต่อไป  [รายละเอียดกำหนดการเดินทาง]

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักวิจัยโครงการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ครั้งที่ 2

      คณะกรรมการกลุ่มโครงการวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning: AL) ได้จัดกิจกรรมอบรมปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพนักวิจัย ครั้งที่ 2  เรื่อง เทคนิคการเขียนรายงานวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติขึ้นในวันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม 2555 เวลา 08.00-17.00 น. ณ ห้องประชุมปาหนัน โรงแรมปาร์ควิว จังหวัดยะลา โดย ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ หัวหน้าโครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ให้เกียรติเป็นประธานเปิดและกล่าวให้โอวาทแก่ผู้เข้าอบรม และกล่าวรายงานวัตถุประสงค์โครงการโดย ดร.ศิริชัย นามบุรี หัวหน้ากลุ่มการวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ  โดยมี ดร.บุญสิทธิ์ ไชยชนะ รองหัวหน้าโครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย ให้เกียรติร่วมในพิธีเปิด โดยมีนักวิจัยและอาจารย์ที่ปรึกษาเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ จำนวนประมาณ 50 คน
      สำหรับการจัดกิจกรรมอบรมปฏิบัติการ เรื่อง เทคนิคการเขียนรายงานวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ในครั้งนี้เป็นการจัดกิจกรรมพัฒนานักวิจัยเป็นครั้งที่ 2 โดยได้รับเกียรติจาก อ.ซุลฟีกอร์ มาโซ   และ อ.นูรีดา จะปะกียา อาจารย์จากสาขาพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นวิทยากร ให้คำแนะนำ ตัวอย่าง และเทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยจากการถอดบทเรียนแนวปฏิบัติที่ดี  โดยมีคณะกรรมการดำเนินงานกลุ่ม AL ประกอบด้วย อ.มะเสาวดี ไสสากา  คุณดนยา สะแลแม  คุณมหามะบักรี ลือบาฮางุ  เป็นผู้ให้คำแนะนำการเขียนรายงานการวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถนำเสนอผลการวิจัยจากการถอดบทเรียนแนวปฏิบัติที่ดีให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน สามารถส่งรายงานการวิจัยได้ทันตามกำหนดของสัญญาทุนวิจัย ทั้งนี้ จะจัดเวทีนำเสนอผลงานวิจัยที่สมบูรณ์อีกครั้งในวันที่ 27 ธันวาคม 2555 เวลา 08.00-17.00 น. ณ ห้องปาหนัน โรงแรมปาร์ควิว จังหวัดยะลา เช่นเดิม [เอกสารประกอบการอบรม...] [ภาพเพิ่มเติม...]

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประชุมคณะกรรมการ Action Learning

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม 2555 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานงานโครงการสะพานฯ คณะกรรมการกลุ่มการวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning: AL) จัดประชุมเตรียมจัดงานอบรมปฏิบัติการเพิ่มพัฒนาศักยภาพให้แก่นักวิจัย ครั้งที่ 2 ให้แก่ผู้ได้รับทุนวิจัยประจำปี 2555 ซึ่งกำหนดหัวเรื่องในการจัดอบรม คือ "อบรมปฏิบัติการเทคนิคการเขียนรายงานการเรียนรู้จากการปฏิบัติ" กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าอบรมคือ ผู้ได้รับทุนวิจัยโครงการละ 2 คน และอาจารย์ที่ปรึกษา 1 คน (จากทั้งหมด 19 โครงการ) โดยกำหนดจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม 2555 เวลา 08.00-17.00  ณ ห้องประชุมปาหนัน โรงแรมปาร์ควิว จ.ยะลา

     สำหรับกำหนดการเบื้องต้นของการอบรมครั้งนี้ มีดังนี้

  • 08.00-08.30 น. ลงทะเบียน
  • 08.30-09.00 น. พิธีเปิดการอบรม โดย ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ หัวหน้าโครงการสะพานฯ มรย.
  • 09.00-10.30 น. บรรยายเรื่อง "เทคนิคการเขียนรายงานวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ"
    โดย อ.ซุลฟีกอร์ มาโซ และ อ.นูรีดา จะปะกียา
  • 10.30 - 12.00 น. แยกกลุ่มปฏิบัติการเขียนรายงานการวิจัย (3 กลุ่ม ป.ตรี  ป.โท และภาคประชาสังคม)
  • 12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
  • 13.00 - 16.00 น. แยกกลุ่มปฏิบัติการเขียนรายงานการวิจัย (3 กลุ่ม ป.ตรี  ป.โท และภาคประชาสังคม) (ต่อ)
  • 16.00-16.30 น. สรุปผลการอบรมปฏิบัติการ
  • 16.30 น. พิธิปิดการอบรม โดย ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์
ส่งที่นักวิจัยต้องจัดเตรียมา ได้แก่

  1. คอมพิวเตอร์ Notebook (โครงการละ 1 ตัว)
  2. สำเนาแบบเสนอโครงการที่ทำสัญญาทุน
  3. พิมพ์โครงร่างเอกสารรายงานตามแบบฟอร์มรายงานวิจัยของโครงการ 
  4. อย่างน้อยมีเนื้อหาบทที่ 1-3 และบทที่ 4 บางส่วน) สามารถดาวน์โหลดได้จาก http://sapan-yru.blogspot.com
  5. เอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมในโครงการวิจัย
  6. ไฟล์เอกสารหรือรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การนำเสนอความก้าวหน้าโครงการวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ครั้งที่ 1

     เมื่อวันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2555 เวลา 08.00-17.00 น. คณะกรรมการกลุ่มวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning: AL) โครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดกิจกรรมนำเสนอความก้าวหน้าโครงการวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ครั้งที่ 1  ณ ห้องประชุมศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
     การจัดกิจกรรมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเวทีนำเสนอผลการดำเนินงานและความก้าวหน้าของการวิจัย ที่โครงการสะพานเสริมประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยการสนับสนุนของ USAID ให้ทุนวิจัยแก่ นักศึกษาปริญญาตรี 5 ทุน ปริญญาโท 5 ทุน  และภาคประชาสังคม (CSO) จำนวน 9 ทุน รวมทั้งหมด 19 ทุน ในพื้นที่วิจัย 3 จังหวัด คือ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เพื่อทำวิจัยในลักษณะของการถอดบทเรียนแนวปฏิบัติที่ดีในประเด็นที่กำหนดไว้  [ตามกรอบของข้อเสนอโครงการที่กำหนด...]  โดยทำวิจัยในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส  ซึ่งการนำเสนอความก้าวหน้าครั้งนี้  มีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากกลุ่ม Action Learning ประกอบด้วย อ. ซูลฟีกอร์  มาโซ, อ.นูรีดา จะปะกียา, อ.มะเสาวดี  ไสสากา, คุณรอซีดี  เลิศอริยพงษ์กุล, คุณมหามะบักรี ลือบาฮางุ, คุณดนยา  สะแลแม และ อ.ทัศนา เกื้อเส้ง โดยมี ดร.ศิริชัย นามบุรี หัวหน้ากลุ่มวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning: AL) เป็นประธานในพิธีเปิดและเวทีการนำเสนอ
        นอกจากนั้น อาจารย์ ดร.เนาวรัตน์ ตรีไพบูลย์  อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการวิจัย ได้ให้เกียรตินำนักศึกษาปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา  บริหารการศึกษา จำนวนกว่า 30 คน เข้าร่วมฟังการนำเสนอความก้าวหน้าผลการวิจัยครั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การเข้าร่วมประชุมสัมมนาทางวิชาการ เพื่อเป็นแนวทางในการนำเสนอผลงานวิชาการของตนเอง ซึ่งเป็นเงื่อนไขการสำเร็จการศึกษาของหลักสูตรต่อไป   [ภาพประกอบเพิ่มเติม...]

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กำหนดการนำเสนอความก้าวหน้างานวิจัย ครั้งที่ 1

ประกาศ
 
ขอเชิญนักวิจัย (ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และภาคประชาสังคม) และ อาจารย์ที่ปรึกษาทุกโครงการในทุกพื้นที่ เข้าร่วม นำเสนอผลการดำเนินงานครั้งที่ 1 ใน วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2555ณ ห้องประชุมศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ (อาคาร 9 ชั้น 1) อาคารตั้งอยู่ใกล้กับโรงเรียนสาธิต มรย. ตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.00 น. โดยมีกำหนดการเบื้องต้น ดังนี้

  • 08.00-08.30 น. ลงทะเบียน
  • 08.30 - 09.00 น. พิธีเปิด โดย ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ (หัวหน้าโครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย มรย.) เป็นประธาน และ ดร.ศิริชัย นามบุรี หัวหน้าโครงการวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ กล่าวรายงาน
  • 09.00-10.30 น. นำเสนอความก้าวหน้าโครงการวิจัย (แยกเป็น 3 กลุ่ม ตามพื้นที่จังหวัด)
  • 10.30 - 10.45 น. รับประทานอาหารว่าง
  • 10.45-12.00 น. นำเสนอความก้าวหน้าโครงการวิจัย (ต่อ)
  • 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
  • 13.00 - 14.30 น. นำเสนอความก้าวหน้าโครงการวิจัย (ต่อ)
  • 14.30 - 10.45 น. รับประทานอาหารว่าง
  • 14.45 - 16.00 น. สรุปผลการนำเสนอความก้าวหน้าโครงการวิจัย
  • 16.00 - 16.30 น. พิธีปิดการนำเสนอโดย โดย ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ (หัวหน้าโครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย มรย.) เป็นประธาน
การเตรียมการและสิ่งที่ต้องนำมา ของผู้นำเสนอความก้าวหน้าโครงการวิจัย (ตามผลงานในส่วนที่ดำเนินการไปแล้ว)
  • สำเนาข้อเสนอโครงการ
  • สไลด์นำเสนอความก้าวหน้าโครงการ (ตามลำดับในรายงานการวิจัย)
  • ร่างรายงานการวิจัย (ตามแบบฟอร์มที่โครงการกำหนด)
  • ข้อมูลที่ควรนำมาประกอบการรายงานความก้าวหน้า เช่น เครื่องมือการวิจัย เอกสาร/รายงานที่เกี่ยวข้องที่ได้จากการลงพื้นที่ กำหนดการการจัดกิจกรรม ภาพประกอบการจัดกิจกรรม
  • เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
รูปแบบการนำเสนอ (นำเสนอกลุ่มละไม่เกิน 30 นาที)
  • นำเสนอโครงการละ 20 นาที
  • คณะกรรมการซักถามและให้ข้อเสนอแนะ 10 นาที
หมายเหตุ
  1. ทุกโครงการที่ได้รับทุนต้องเข้าร่วมนำเสนอความก้าวหน้าโครงการวิจัย ครั้งที่ 1
  2. กรณีมีข้อสงสัยประการใด โปรดสอบถาม ดร.ศิริชัย นามบุรี 084-1968099

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

คณะกรรมการ Action Learning ติดตามโครงการวิจัยพื้นที่ชุมชนตลาดเมืองใหม่ จ.ยะลา

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09.00-12.00 น. คณะกรรมการโครงการวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning) ประกอบด้วย ดร.ศิริชัย นามบุรี อ.ซุลฟีกอร์ มาโซ อ.นูรีดา จะปะกียา และคุณพารีซัน  มะ ลงพื้นที่ติดตามโครงการวิจัยของนักศึกษาปริญญาตรี 2 โครงการ ในพื้นที่ชุมชนตลาดเมืองใหม่ เขตเทศบาลนครยะลา อ.เมือง จ.ยะลา โดยมีโครงการวิจัยของนักศึกษาปริญญาตรี 2 โครงการจัดกิจกรรมเปิดตัวโครงการและทำกิจกรรมเสวนากลุ่ม (Focus Group) และการสัมภาษณ์เชิงลึก  ได้แก่ โครงการวิจัยเรื่อง การจัดการความขัดแย้งในชุมชนตลาดเมืองใหม่ โดยมีนางสาวนารีดา สาระ และทีมนักศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ฯ เป็นผู้วิจัย และโครงการวิจัยเรื่อง การบริหารจัดการโรงเรียนตาดีกาดารุลมุฮาญีริน โดยมีนางสาวรีนา และแดง และทีมงานเป็นผู้วิจัย
      สำหรับการติดตามประเมินผลในพื้นที่ครังนี้ พบว่า ชุมชนตลาดเมืองใหม่ อ.เมือง จ.ยะลา มีการบริหารจัดการโรงเรียนตาดีกาดารุลมุฮาญีริน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดจากความร่วมมือของชุมชน กรณีมีความขัดแย้งในชุมชน โดยเฉพาะในด้านการบริหารจัดการพื้นที่ในตลาด ก็สามารถใช้แนวทางการเจรจาต่อรองเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งให้สามารถดำเนินวิถีชีวิตของชุมชนต่อไปได้ [ดูภาพเพิ่มเติม...]

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

คณะกรรมการการวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติลงพื้นที่ ต.อาเนาะรู อ.เมือง จ.ปัตตานี

     เมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09.00-14.00 น. คณะกรรมการโครงการวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning) ประกอบด้วย ดร.ศิริชัย นามบุรี หัวหน้าโครงการ อ.ซุลฟีกอร์ มาโซ  อ.นูรีดา จะปะกียา  คุณดนยา สะแลแม และ คุณพารีซัน หะ เจ้าหน้าที่การเงิน จาก Implementation Team ของโครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ลงพื้นที่ ต.อาเนาะรู อ.เมือง จ.ปัตตานี เพื่อร่วมกิจกรรมเปิดโครงการวิจัย เรื่อง แผนที่เมืองโบราณปัตตานี  พร้อมกับเปิดตัว โครงการพัฒนาบัตรศักยภาพชุมชน  ณ ห้องประชุมโรงเรียนเทศบาล 2  ซึ่งมีภาคประชาสังคม องค์กรมูลนิธิศานติรัศวลัย โดย นางสาวอัญชลี แสงเพ็ชร และคณะเป็นผู้วิจัย
     จากการร่วมสังเกตการณ์ของการเวทีเปิดตัวโครงการวิจัย พบว่า ความเข้มแข็งของสมาชิกกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนและชุมชนของสมาชิกในชุมชนพหุวัฒนธรรม ทั้งพี่น้องชาวไทยพุทธ ไทยมุสลิม และชาวไทยเชื้อสายจีน นับเป็นจุดเด่นของชุมชนแห่งนี้ ซึ่งการพัฒนาชุมชนอย่างมีส่วนร่วมของมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ วัด โรงเรียน และชุมชน ซึ่งมีลักษณะเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมในเขตเมืองที่ยังคงเอกลักษณ์ความสามัคคี การช่วยเหลือเกื้อกูล เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน นับเป็นสังคมที่เป็นแบบอย่างของสังคมสันติสุขใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ [ดูภาพประกอบเพิ่มเติม...]

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

โครงการวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning) จัดอบรมพัฒนานักวิจัย ครั้งที่ 1


            วันที่ 10 พฤศจิกายน 2555  เวลา 08.00-17.00  น. คณะกรรมการโครงการวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning: AL) ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการหลักของโครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ปี 2 (ประจำปีงบประมาณ 2555) ได้จัดกิจกรรมอบรมปฏิบัติการ เรื่อง การแลกเปลี่ยนและการถอดบทเรียนองค์ความรู้ชุมชน ขึ้น ณ ห้องประชุมรามัญ อาคารยะลาพาเลส  เพื่อเสริมความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับเทคนิคการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการถอดบทเรียนองค์ความรู้จากชุมชน  ซึ่งนับเป็นกิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักวิจัยที่ได้รับทุนวิจัย (จำนวน 19 ทุน) จากโครงการวิจัย  “การเรียนรู้จากการปฏิบัติ”  โดยเน้นการนำความรู้และทักษะที่ได้ไปใช้ในการถอดบทเรียนจากแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ในชุมชนในประเด็นต่าง ๆ ตามข้อเสนอโครงการวิจัยที่ได้รับการอนุมัติทุนสนับสนุน  เช่น การบริการจัดการองค์กรที่ดีในชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการ  การจัดการความขัดแย้ง การสร้างสมานฉันท์ในสังคมพหุวัฒนธรรม เป็นต้น

                ในการจัดอบรมปฏิบัติการครั้งนี้ มีนักวิจัยซึ่งมาจากทั้งภาคประชาสังคม นักศึกษาระดับปริญญาตรี และนักศึกษาระดับปริญญาโท เข้าร่วมอบรมโครงการละ 2 คน  อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการวิจัย จำนวน 6  คน พร้อมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอีก จำนวน 7 คน  รวมผู้เข้าอบรมในกิจกรรมครั้งนี้ จำนวนกว่า 50 คน ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก  ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ หัวหน้าโครงการสะพานฯ เป็นประธานเปิดงานและให้โอวาทแก่ผู้เข้าอบรม  กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมการอบรมโดย ดร.ศิริชัย นามบุรี  หัวหน้าโครงการวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ  และได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน คือ คุณสงัด  พืชพันธุ์ นักพัฒนาชุมชนชำนาญการ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขานุการรองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.) และทีมงานวิทยากรอีก 2 ท่าน ที่มีประสบการณ์ในการทำงานในชุมชนเขตพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ร่วมเป็นวิทยากร
                ผลการจัดอบรมปฏิบัติการในครั้งนี้ ทำให้ผู้เข้าอบรมทั้งนักวิจัยและอาจารย์ที่ปรึกษา ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการถอดบทเรียน การเลือกใช้เครื่องมือสำหรับถอดบทเรียน เทคนิคในการถอดบทเรียน  เทคนิคการลงชุมชน  รวมทั้ง มีกิจกรรมแบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างวิทยากรกับนักวิจัยที่ได้ลงพื้นที่และดำเนินงานกิจกรรมบางส่วนของโครงการวิจัยไปแล้วเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคในการถอดบทเรียนและการเขียนรายงาน รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมได้ซักถามในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง [เอกสารประกอบ...] [ดูภาพเพิ่มเติม...] 

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เปิดตัวโครงการและกิจกรรมการวิจัย Action Learning ชุมชนโสร่ง ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี

      วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2555 เวลา 10.00 น. คณะกรรมการดำเนินงานโครงการวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning: AL) โครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ซึ่งประกอบด้วย ดร.ศิริชัย นามบุรี หัวหน้าโครงการ อ.ซุลฟีกอร์ มาโซ   อ.นูรีดา จะปะกียา คณะกรรมกมรและคุณพารีซัน  หะ   เจ้าหน้าที่่ประสานงานโครงการสะพานส่งเสริมประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เข้าร่วมติดตามกิจกรรมเปิดตัวโครงการวิจัยและการทำกิจกรรมเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยในพื้นที่ ม. 3 ชุมชนโสร่ง ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี  โดยมีโครงการวิจัยในพื้นที่ชุมชนโสร่งนี้ จำนวน 3 โครงการ ประกอบด้วย ดังนี้
  1. การบริหารจัดการดูแลความปลอดภัยของชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) : กรณีศึกษาชุมชนโสร่ง ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี  โดยมีนายอาลี  มะดือเระ  เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย (ภาคประชาสังคม)
  2. การบริหารจัดการกองทุนชุมชน: กรณีศึกษากองทุนอัลอะมานะฮฺ (โสร่งดารุลอามาน) บ้านโสร่ง โดยมี นายอิสมะแอ หะยีสาและ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย (นักศึกษาระดับปริญญาโท)
  3. การจัดการปัญหาความขัดแย้งด้านการวางผังเมืองชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (ชุมชนบาลาเซาะโต๊ะมุ)  หัวหน้าโครงการวิจัยคือ นางสาวปัทมาวาตี  มะสาวา และนายฮัมดี บินหะรงค์  (นักศึกษาระดับปริญญาตรี)
       การลงพื้นที่ชุมชนโสร่ง ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี ในครั้งนี้ เป็นกิจกรรมหนึ่งของคณะกรรมการประเมินและติดตามโครงการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการให้กำลังใจและให้ข้อเสนอแนะในกระบวนการดำเนินการวิจัยแก่นักวิจัย ผลการติดตามประเมินผลครั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดียิ่งจากคณะนักวิจัยและสมาชิกชุมชนที่เข้าร่วมวิจัย  คณะกรรมการโครงการวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning) ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ [ดูภาพเพิ่มเติม...]

วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ทุนอุดหนุนวิจัย กลุ่ม Action Learning หลังจากปรับชื่อโครงการ และพื้นที่ (ล่าสุด)

รายชื่อผู้ได้รับทุนอุดหนุนวิจัยกลุ่มเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning) พร้อมชื่่อโครงการ และพื้นที่วิจัย หลังการปรับข้อเสนอโครงการ (ล่าสุด)
https://docs.google.com/file/d/0B-67SKC75dE4Nzk3YmZCaklSSlE/edit

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมปรับข้อเสนอโครงการวิจัย Action Learning เชิงพื้นที่


   เมื่อวันที่ 29-30 กันยายน 2555 โครงการวิจัยปฏิบัติการจากการเรียนรู้ (Action Learning) จัดกิจกรรมปรับข้อเสนอโครงการวิจัย เพื่อให้เข้ากรอบเชิงพื้นที่ ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารยะลาพาเลซ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ ให้ผู้ได้รับทุนวิจัยปรับข้อเสนอโครงการให้มีความสมบูรณ์ ชัดเจน มีความเป็นไปได้ในการดำเนินงานและมีโอกาสสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยยึดพื้นที่เป็นฐานในการเรียนรู้  ซึ่งมีระยะเวลาในการปฏิบัติงานเพียง 3 เดือน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2555  และดำเนินงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งขณะนี้กำลังมีเหตุการณ์ก่อความไม่สงบและมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเป้าหมายความสำเร็จของกิจกรรมครั้งนี้ คือ การส่งข้อเสนอโครงการฉบับปรับแก้ไขสมบูรณ์เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรม พร้อมกับลงนามสัญญารับทุนอุดหนุนการวิจัย
          ข้อค้นพบที่สำคัญในกิจกรรมนี้คือ นักวิจัยที่ได้รับสนับสนุนการวิจัย จำนวน 19 โครงการ จากทั้งหมดที่ประกาศรับ 21 ทุน (ปริญญาตรี 7 ทุน ปริญญาโท 7 ทุน และภาคประชาสังคม 7 ทุน) เนื่องจากนักศึกษาปริญญาตรี นักศึกษาปริญญาโท เสนอโครงการไม่ครบตามจำนวนทุน คณะกรรมการจึงปรับทุนให้เป็นภาคประชาสังคมเพิ่มขึ้น ผู้รับทุน Action Learning จึงประกอบด้วย นักศึกษาปริญญาตรี  5 ทุน (ทุนละ 30,000 บาท) นักศึกษาปริญญาโท 5 ทุน (ทุนละ 40,000 บาท) และภาคประชาสังคม 9 ทุน (ทุนละ 77,750 บาท) โดยปรับงบประมาณของทุนนักศึกษาปริญญาตรี 2 ทุน และปริญญาโท 2 ทุน เพิ่มให้กับภาคประชาสังคมอีก 2 ทุน รวมเป็นภาคประชาสังคม 9 ทุน  โดยขณะจัดกิจกรรมการปรับข้อเสนอโครงการ พบว่าภาคประชาสังคม นักศึกษาปริญญาตรี และปริญญาโท สามารถสร้างเครือข่ายการทำงานเชิงพื้นที่ร่วมกันได้เป็นอย่างดี มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันเป็นอย่างดี มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ระหว่างนักวิจัย รวมทั้งมีการวางแผนการลงพื้นที่เพื่อจัดกิจกรรมร่วมกัน โดยสามารถกำหนดพื้นที่ได้ทั้งหมด 9 พื้นที่ ประกอบด้วย จังหวัดยะลา 5 พื้นที่ ปัตตานี 2 พื้นที่ และนราธิวาส 2 พื้นที่  หลังเสร็จสิ้นกิจกรรม ทุกโครงการสามารถปรับข้อเสนอโครงการและลงนามในสัญญาในวันที่ 30 กันยายน 2555 ได้ทั้งหมด 16 โครงการ และส่งโครงการและลงนามสัญญาในวันที่ 1 ตุลาคม 2555  ได้อีก 3 โครงการ รวมทั้งหมด 19 โครงการ ครบถ้วนตามเป้าหมาย และกำหนดให้รับเงินอุดหนุนงวดแรก 50% ได้ในวันที่ 10 ตุลาคม 2555  พร้อมกับวางแผนให้คณะกรรมการโครงการ Action Learning ลงพื้นที่เพื่อติดตามครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 20 ตุลาคม 2555 – 20 พฤศจิกายน 2555 โดยเน้นกิจกรรมเปิดตัวโครงการ สร้างความเข้าใจระหว่างนักวิจัยกับชุมชน
          ปัญหาที่ค้นพบจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ นักวิจัยยังขาดความรู้และทักษะในการลงพื้นที่และถอดบทเรียน โดยเฉพาะนักศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท และการวางแผนลงพื้นที่เพื่อติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรม ซึ่งมีจำนวน 9 คน ต้องลงพื้นที่ 9 พื้นที่ 19 โครงการ ซึ่งคณะกรรมการจะได้วางแผนงานเพื่อปรับแนวทางในการแก้ไขปัญหานี้ต่อไป [ดูภาพเพิ่มเติม...]

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

แหล่งเรียนรู้สำหรับการปรับข้อเสนอโครงการ Action Learning

การกำหนดคำถามหรือโจทย์การวิจัย
ตัวอย่างการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย
เทคนิคการถอดบทเรียน
ตัวอย่างรายงานการถอดบทเรียน

สิ่งส่งมอบ สำหรับผู้รับทุนอุดหนุนช่วงของโครงการสะพาน

แบบฟอร์มสิ่งส่งมอบ (Deliverables) สำหรับผู้รับทุนอุดหนุนช่วงทีมธรรมาภิบาลท้องถิ่น (Local Governance) และการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning) โครงการสะพานฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ต้องดำเนินการส่งตามงวดที่ทางโครงการได้กำหนดไว้ ดังนี้ :
- แบบฟอร์มข้อมูลองค์กร https://docs.google.com/file/d/0B-67SKC75dE4S21Pc2tCbE9aYk0/edit
- แบบฟอร์มข้อมูลคณะทำงาน https://docs.google.com/file/d/0B-67SKC75dE4a1dPLWlyTWhlSW8/edit
- แบบฟอร์มรายงานกิจกรรม (Event Report) https://docs.google.com/file/d/0B-67SKC75dE4bXBueVBIN09rcGM/edit
- แบบฟอร์มเอกสารการเงิน https://docs.google.com/file/d/0B-67SKC75dE4WXdsZHpGaHJ2ckE/edit

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

ประกาศรายชื่อผู้ได้รับทุนอุดหนุนวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning)

รายชื่อผู้ได้รับทุนอุดหนุนโครงการวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning) หลังปรับพื้นที่ให้สอดคล้องกับคำแนะนำจากคณะกรรมการ และพื้นที่วิจัยภาคประชาสังคม
ตาม Link : https://docs.google.com/file/d/0B-67SKC75dE4NW40emlqWXJCV1E/edit

พร้อมนี้ ให้ผู้ได้รับทุนอุดหนุน เข้าร่วมอบรมเทคนิคการเขียนและปรับข้อเสนอโครงการวิจัยโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน
ในวันที่ 29 - 30 กันยายน 2555 ณ ห้องประชุม ชั้น 2 ห้อง 08202 อาคารยะลาพาเลซ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ตัวแทนโครงการละ 2 ท่าน และที่ปรึกษาโครงการละ 1 ท่าน
กำหนดการ : https://docs.google.com/file/d/0B-67SKC75dE4ZzRtdE92NmJvTUU/edit

และในช่วงนำเสนอโครงการ ผู้วิจัยต้องสรุปประเด็นต่อไปนี้ :

1) ความสำคัญของปัญหา
2) คำถาม/โจทย์วิจัย
3) วัตถุประสงค์การวิจัย
4) วิธีดำเนินการ (พื้นที่ กลุ่มตัวอย่าง กิจกรรม และเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล)
4) สิ่งที่ได้จากการวิจัย
5) ประโยชน์ที่จะได้รับ

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

การพัฒนางบประมาณทุนอุดหนุนวิจัย Action Learning

ผู้รับทุนอุดหนุนวิจัยทีมการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning) สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ตัวอย่างแผนกิจกรรม ได้ที่ https://docs.google.com/file/d/0B-67SKC75dE4OFdaRlhnSnBJSnM/edit 
และตัวอย่างการเขียนแผนงบประมาณ ได้ที่ https://docs.google.com/file/d/0B-67SKC75dE4TVhKVHI5OUJwMFk/edit

หมายเหตุ จำนวนเงินที่ระบุในตัวอย่างนี้ เป็นเพียงตัวเลขสมมติ ซึ่งผู้ได้รับทุนแต่ละโครงการ ต้องปรับให้เหมาะสมกับกิจกรรม และจำนวนเงินทุนที่ได้รับ
สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการงบประมาณ คุณพารีซัน หะ 08 0036 1036
หรือคุณวาริษา วาแม 08 2830 2171 หรือที่สำนักงานโครงการสะพาน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาได้ทุกวัน ในวัน และเวลาราชการ

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

ประกาศผู้ได้รับทุนทีม Action Learning

รายชื่อโครงการที่ได้รับทุนวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning) โครงการสะพานฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ตาม Link :https://docs.google.com/file/d/0B-67SKC75dE4SUFJaktwbldyVlk/edit

พร้อมนี้ ขอเรียนเชิญตัวแทนโครงการที่ได้รับทุนทุกโครงการ เข้าร่วมประชุมปรับข้อเสนอโครงการร่วมกัน
นวันพุธ ที่ 12 กันยายน 2555 เวลา 09.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุม  ชั้น 1 อาคาร 4 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (ทั้งนี้ ขอสงวนสิทธิ์สำหรับโครงการที่ไม่มาเข้าร่วมประชุมในวัน และเวลาดังกล่าว ในการพิจารณาให้ทุนแก่โครงการอื่นแทน)

วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

ประกาศผลการพิจารณาทุนวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning:AL)

   
      จากการที่โครงการสะพานส่งเสริมประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (ปี 2) ได้ประชุมเปิดตัวโครงการและประกาศรับโครงการวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning: AL) เพื่อให้ทุนสนับสนุน เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2555 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา  โดยแบ่งการให้ทุนเป็น 3 ระดับ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี 7 ทุน ระดับปริญญาโท 7 ทุน และระดับภาคประชาสังคม 7 ทุน โดยการให้ทุนการวิจัยครั้งนี้อิงตามพื้นที่เป็นหลัก คือ พื้นที่ชุมชนในจังหวัดยะลา 5 พื้นที่ (15 ทุน ระดับละ 5 ทุน) จังหวัดปัตตานี 1 พื้นที่ (3 ทุน ระดับละ 1 ทุน) และจังหวัดนราธิวาส 1 พื้นที่ (3 ทุน ระดับละ 1 ทุน) ปรากฎว่ามีผู้สนใจเสนอโครงการขอรับทุนดังกล่าวจำนวนมาก โดยเฉพาะภาคประชาสังคม มีจำนวนมากถึง 15 โครงการ ปริญญาตรี 4 โครงการ และปริญญาโท 6 โครงการ ขณะนี้คณะกรรมการฯ ได้ประชุมพิจารณากลั่นกรองและตัดสินโครงการที่จะได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยในเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการเสนอให้หัวหน้าโครงการสะพานฯ ลงนาม และจะประกาศผลเบื้องต้นให้ทราบภายในวันจันทร์ที่ 10 กันยายน 2555 นี้  โปรดติดตามรายละเอียดต่อไป

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

ขอเชิญเข้าร่วมอบรม "บัตรคะแนนศักยภาพชุมชนกับการพัฒนาธรรมาภิบาลท้องถิ่น" กลุ่มธรรมาภิบาลท้องถิ่น วันที่ 10-12 กันยายน 2555

ขอเรียนเชิญองค์กรภาคประชาสังคมที่ผ่านการพิจารณาให้ได้รับทุนในกลุ่มธรรมาภิบาลท้องถิ่น (Local Governance) ทั้ง 8 องค์กร (ตัวแทนองค์กรละ 3 ท่าน) เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ "บัตรคะแนนศักยภาพชุมชนกับการพัฒนาธรรมาภิบาลท้องถิ่น" ระหว่างวันที่ 10-12 กันยายน 2555 ณ ห้องกระยาทิพย์ โรงแรมปาร์วิว อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

รายละเอียดกำหนดการ ตาม Link : https://docs.google.com/file/d/0B-67SKC75dE4TlMyZmZDclRoaVU/edit

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

ประกาศผู้ได้รับทุนวิจัยธรรมาภิบาลท้องถิ่น

ประกาศรายชื่อกลุ่มที่ผ่านการคัดเลือกให้ได้รับทุนวิจัยธรรมาภิบาลท้องถิ่น (Local Governance) : โครงการสะพาน
https://docs.google.com/file/d/0B-67SKC75dE4MVhGRG9RM3Rucnc/edit

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประกาศให้ทุนสนับสนุนการถอดบทเรียนการเรียนรู้จากการปฏิบัติ และพัฒนาเครื่องมือธรรมาภิบาลท้องถิ่น

      โครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ปี 2  ให้ทุนสนับสนุนนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และภาคประชาสังคม ใน  2 โครงการ คือ 1) การวิจัยหรือถอดบทเรียนการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning) และ 2) การสร้างเครื่องมือธรรมภิบาลท้องถิ่น (Local Governance)   
โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. โครงการวิจัยถอดบทเรียนการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning)  สนับสนุนทุนสำหรับการทำวิจัยแก่นักศึกษาระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโทของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และทุนสนับสนุนภาคประชาสังคม กลุ่มหรือองค์กรอิสระ  โดยกำหนดพื้นที่การวิจัยหรือการถอดบทเรียนชุมชนในเขตจังหวัดยะลา นราธิวาส และปัตตานี  กำหนดรูปแบบการถอดบทเรียนในลักษณะของการเรียนรู้จากปฏิบัติจริงในชุมชน กำหนดปัญหาจากชุมชน ทำการวิจัยค้นหาคำตอบหรือหาแนวปฏิบัติที่ดีในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนาจิตสำนึกพลเมือง การพัฒนาประชาธิปไตยในท้องถิ่น สิทธิมนุษยชน การเมืองการปกครองในท้องถิ่น สิทธิของพลเมืองในท้องถิ่น ธรรมาภิบาลกับการเมืองการปกครองในท้องถิ่น ปัญหาคอรัปชั่น บทบาทและความรับผิดชอบของสื่อ การจัดการความขัดแย้งในชุมชน

2. โครงการการสร้างเครื่องมือธรรมภิบาลท้องถิ่น (Local Governance) เป็นการให้ทุนสนับสนุนการพัฒนา เครื่องมือบัตรคะแนนศักยภาพชุมชน  หรือเครื่องมือการเรียนรู้งบประมาณ หรือเครื่องมือการตรวจสอบงบประมาณ 

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เปิดตัวโครงการสะพาน: เสริมสร้างประชาธิปไตย มหาวิทยลัยราชภัฏยะลา ปี 2

      โครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เปิดตัวโครงการปีที่ 2 (2555) อย่างเป็นทางการเมื่อวันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม 2555 เวลา 09.00 - 16.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารวชิราลงกรณ (อาคาร 20) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 


      กิจกรรมเปิดตัวโครงการครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากท่านอธิการบดี ผศ.ไกรสร ศรีไตรรัตน์ เป็นประธานในพิธีเปิด กล่าวรายงานความเป็นมาของโครงการและการดำเนินงานโดย ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หัวหน้าโครงการ กิจกรรมในภาคเช้าเป็นการสรุปผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาของโครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย ปีที่ 1 และแนะนำรูปแบบการดำเนินงานในปีที่ 2  โดย ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ หลังจากนั้นแต่ละทีม ประกอบด้วย 1) ทีม Action Learning   ดร.ศิริชัย นามบุรี หัวหน้าทีม  2) ทีม Local Governance โดย ดร. ตายุดิน อุสมาน หัวหน้าทีม 3) ทีม Provincial Governance Index  ผศ.สมศักดิ์ ด่านเดชา หัวหน้าทีม เป็นตัวแทนขึ้นแนะนำโครงการและรายละเอียดภาพรวมการให้ทุนสนับสนุนการทำกิจกรรม
      กิจกรรมช่วงบ่ายเป็นการเสวนา เรื่อง "ธรรมาภิบาลกับการพัฒนา 3 จังหวัดชายแดนใต้" โดย นายอุดร น้อยทับทิม รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา  นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีเทศบาลนครยะลา และนายรุสดี บาเกาะ รองประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา โดยมีคุณพงษ์พันธ์ ชัยเศรษฐสัมพันธ์ เป็นผู้ดำเนินรายการ
      กิจกรรมช่วงสุดท้ายเป็นการชี้แจงแผนการดำเนินงานของแต่กิจกรรม พร้อมการตอบข้อซักถามเกี่ยวกับการขอทุนสนับสนุนกิจกรรมทุนวิจัย Action Learning และทุนสร้างเครื่องมือ Local Governance  สำหรับกิจกรรมครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมเปิดตัวโครงการสะพานฯ ทั้งนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท คณาจารย์ สมาชิกชุมชน ภาคประชาสังคม กลุ่ม/องค์กรอิสระ เข้าร่วมกิจกรรมมากว่า 300 คน [ดูภาพเพิ่มเติม...]

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประกาศรับทุนวิจัยถอดบทเรียนการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning)

       คณะกรรมการดำเนินงานทุนวิจัยถอดบทเรียนการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning) ประกาศรับสมัครทุนวิจัยประจำปี 2555 ในลักษณะการศึกษาเรียนรู้ชุมชน การถอดบทเรียนแนวปฏิบัติที่ดีจากชุมชนในเขตจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาน ในหัวข้อเกี่ยวกับการพัฒนาจิตสำนึกพลเมือง การพัฒนาประชาธิปไตยในท้องถิ่น สิทธิมนุษยชน การเมืองการปกครองในท้องถิ่น สิทธิของพลเมืองในท้องถิ่น ธรรมาภิบาลกับการเมืองการปกครองในท้องถิ่น ปัญหาคอรัปชั่น บทบาทและความรับผิดชอบของสื่อ การจัดการความขัดแย้งในชุมชน โดยสนับสนุนทุนแก่นักศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และภาคประชาสังคมหรือกลุ่มองค์กรอิสระ ดังนี้


 นักศึกษาระดับปริญญาตรี                           ทุนละ 30,000 บาท
 นักศึกษาระดับปริญญาโท                          ทุนละ 40,000 บาท
 ภาคประชาสังคม/กลุ่มหรือองค์กรอิสระ        ทุนละ 80,000 บาท

          โดยกำหนดเขตพื้นที่จะสนับสนุนการทำวิจัย แยกตามจังหวัด รวมทั้งหมด 7 พื้นที่หรือชุมชน ดังนี้
 จังหวัดยะลา ระดับปริญญาตรี 5 ทุน ระดับปริญญาโท 5 ทุน และภาคประชาสังคม/กลุ่มหรือองค์กรอิสระ 5 ทุน รวม 15 ทุน (กำหนดพื้นที่การทำวิจัยไว้ 5 พื้นที่/ชุมชน)
 จังหวัดปัตตานี ระดับปริญญาตรี 1 ทุน ระดับปริญญาโท 1 ทุน และภาคประชาสังคม/กลุ่มหรือองค์กรอิสระ 1 ทุน รวม 3 ทุน  (กำหนดพื้นที่การทำวิจัยไว้ 1 พื้นที่/ชุมชน)
 จังหวัดนราธิวาส ระดับปริญญาตรี 1 ทุน ระดับปริญญาโท 1 ทุน และภาคประชาสังคม/กลุ่มหรือองค์กรอิสระ 1 ทุน รวม 3 ทุน (กำหนดพื้นที่การทำวิจัยไว้ 1 พื้นที่/ชุมชน)

ผู้สนใจอ่านรายละเอียดจากลิงก์ รายละเอียดทุนและแบบฟอร์ม  และขอเชิญร่วมรับฟังรายละเอียดการเปิดตัวโครงการในวันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม 2555 เวลา 09.00-16.00 น. ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติวชิราลงกรณ (อาคาร 20) ห้องประชุมชั้น 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ยินดีต้อนรับสู่เว็บล็อกของโครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

 โครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ปีที่ 2 ดำเนินงานต่อเนื่องมาจากปีแรก ปีการศึกษา 2554 และในปีงบประมาณ 2555 นี้ โครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หรือ SAPAN-YRU ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 2 โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ 1) การให้ทุนสนับสนุนการวิจัยจากการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ (Action Learning) 2) การพัฒนาเครื่องมือตรวจสอบธรรมภิบาลท้องถิ่น (Local Governance) 3) การสร้างตัวชี้วัดธรรมาภิบาลระดับจังหวัด (Provincial Governance) และ 4) การสนับสนุนการบริหารจัดการโครงการ (Implementation Team)

    ผู้สนใจร่วมกิจกรรมกับโครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย โปรดติดตามข่าวสารทางเว็บบล็อก และ Facebook ที่ลิงก์ http://www.facebook.com/sapan-yru  หรือเว็บล็อก http://sapan-yru.blogspot.com