วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการสะพานฯ เพื่อรับทราบความก้าวหน้ากิจกรรมการดำเนินงานที่ผ่านมา ปี 3


เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 13.00 - 16.00 น. ณ ห้องประชุมสภา ชั้น 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โครงการสะพานฯ ประชุมที่ปรึกษา ประกอบด้วย ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ (อธิการบดี) นายเดชรัฐ สิมศิริ (ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา) ร.ต.ต.กริยา ตระกูลศึกษา (กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดประจำจังหวัดยะลา) นางธนสุธา  เพิ่มพูนขันติสุข (กรรมการสมาคมสมาพันธ์การท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา) นายชานนท์ สาและ ตัวแทนนายกเทศมนตรีตำบลท่าสาป นางชลธิชา ทับจิต ตัวแทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบลพร่อน และคณะทำงานโครงการสะพานมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประกอบด้วย ดร.บุญสิทธิ์ ไชยชนะ ดร.ศิริชัย นามบุรี ดร.ตายูดิน อุสมาน ผศ.สมศักดิ์ ด่านเดชา อ.อารยา ชินวรโกมล อ.ซูลฟีกอร์ มาโซ อ.พงษ์พันธ์ ชัยเศรษฐสัมพันธ์ อ.รอซีดี เลิศอริยะพงษ์กุล นายอัลดุลย์เลาะ ยูโซ๊ะ คณะทำงานระดับพื้นที่ตำบลท่าสาป ตำบลพร่อน และเจ้าหน้าที่โครงการสะพานมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
เพื่อรายงานความก้าวหน้าโครงการต่างๆ ที่ชุมชนเสนอ รวมทั้งหมด 6 โครงการใน 2 พื้นที่ ดังนี้ ตำบลท่าสาป 1) นำเสนอการเรียนรู้งบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลพร่อน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยนายดอเล๊าะอาลี สาแม หัวหน้าโครงการ 2) นำเสนอการศึกษาเรื่อง ประเมินศักยภาพการเรียนการสอนโรงเรียนบ้านพร่อนและโรงเรียนบ้านจาหนัน ตำบลพร่อน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยนางสาวปวีณา มะแซ หัวหน้าโครงการ 3) นำเสนอเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมชุมชนเรื่อง สร้างความเป็นพลเมืองและการป้องกันมลภาวะทางอากาศและน้ำชุมชนตำบลพร่อน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยนายดอเล๊าะอาลี สาแม แทนนายรุสดี ยูโซ๊ะ หัวหน้าโครงการ ในส่วนตำบลพร่อน มีดังนี้ 1) รายงานความก้าวหน้าเรื่อง การจัดการขยะในชุมชนตำบลท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยนายอัดลัน ดอเลาะ หัวหน้าโครงการ 2) นำเสนอเรื่อง ความพึงพอใจของการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยซาวียะห์ มูซา 3) เรื่องการเรียนรู้งบประมาณของเทศบาลตำบลท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยนายอายุ กาซอ

วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เวทีเสวนาและเสนอข้อมูล การเรียนรู้งบประมาณ อบต.พร่อน ณ ห้องประชุมพิมพ์มาดา โรงแรมปาร์วิวยะลา

เมื่อวันอังคาร ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่าน ทางคณะทำงานเรียนรู้งบประมาณ อบต.พร่อน ได้จัดกิจกรรมเวทีเสวนาและเสนอข้อมูล เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงบประมาณของ อบต. มากยิ่งขึ้น ณ ห้องประชุมพิมพ์มาดา โรงแรมปาร์วิวยะลา โดยมีคุณดอเล๊าะอาลี สาแม เป็นหัวหน้าโครงการ และได้รับเกียรติจาก ดร.บุญสิทธิ์ ไชยชนะ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เป็นประธานพิธีเปิดเสวนา คุณดอเล๊าะอาลี ได้สรุปผลการศึกษากระบวนการเรียนรู้งบประมาณองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่า งบประมาณประจำปีของ อบต. เป็นงบประมาณที่อยู่คงคลัง หรือ อยู่ในธนาคาร และสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ข้อบัญญัติรายจ่ายประจำของ อบต. เป็นหัวใจสำคัญของการบริหารองค์กร หรือ อบต. ถ้า อบต.ไม่มีข้อบัญญัติประจำปี อบต.ก็ไม่สามารถที่จะบริหารและนำงบประมาณที่คงคลัง ออกมาใช้จ่ายได้ เพราะ อบต. เป็นหน่วยงานราชการที่มี พรบ./กฎหมาย และระเบียบ รองรับบังคับใช้ หรือกำกับในการบริหารจัดการไม่ว่า อบต. อบจ. เทศบาล เป็นต้น                                
เมื่อเวลา 10.30 - 12.00 น. เสวนาเรื่อง การพัฒนาที่ยั่งยืน ประชาชนจะมีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้อย่างไร โดยมีวิทยากรร่วมเสวนาดังนี้ นายสมปราชญ์ จงจิต ท้องถิ่นจังหวัดยะลา นายสมเกียรติ ศรีษะเนตร นายอำเภอเมืองยะลา ดำเนินรายการโดย อ.พงษ์พันธ์ ชัยเศรษฐสัมพันธ์ โดยสรุปการพัฒนาที่ยั่งยืน คือ ทุกสิ่งทุกอย่างทำแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น เกิดประโยชน์ ความสมดุลทุกมิติ ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ปลูกทดแทน และที่สำคัญต้องมีจิตสำนึกในการดำเนินชีวิตอยู่อย่างพอเพียง 
ในภาคบ่าย เสวนาต่อเรื่อง "กระบวนการเรียนรู้งบประมาณ อบต. พร่อน" โดยมีวิทยากรดังนี้ คุณรุสดี ยูโซ๊ะ รองนายก อบต. พร่อน คุณดวงดาว สุขจิตเกษม ปลัด อบต. พร่อน ดำเนินการโดย อ.รอซีดี เลิศอริยะพงษ์กุล ได้สรุปว่า กระบวนการเรียนรู้หรือการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญปัจจุบัน พ.ศ.2550 มาตรา 285 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน อปท. ใดเห็นว่าสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือ ผู้บริหารท้องถิ่นใดของ อปท.นั้นไม่สมควรดำรงตำแหน่งต่อไป ให้สิทธิลงคะแนนเสียงถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือ ผู้บริหารท้องถิ่นผู้นั้นพ้นจากตำแหน่ง ทั้งนี้ จำนวนผู้มีสิทธิเข้าชื่อหลักเกณฑ์และวิธีการเข้าชื่อ การตรวจสอบรายชื่อ การลงคะแนนเสียงให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ 
การมีส่วนร่วมของประชาชน มีส่วนร่วมได้ดังนี้ 1) การเข้ามามีส่วนร่วมโดยตรง คือ เข้าไปเป็นตัวแทน เสียสละตนเองเพื่อสังคม 2) สรรหาคนดี ส่งเสริม สนับสนุน ให้โอกาสคนดีเข้ามาบริหารองค์กร 3) ใช้สิทธิเลือกตั้ง ทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด 4) เสียภาษีต่างๆ เมื่อครบกำหนด เพื่อพัฒนาองค์กร และกลับสู่ชุมชน

ข้อเสนอแนะจากเวที มีดังนี้ 1) ควรให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนเกี่ยวกับการจัดเวทีประชาคม เข้ามามีส่วนร่วมแล้วประชาชนจะได้อะไร และถ้าไม่เข้าร่วมจะเสียผลประโยชน์อย่างไร 2) ประชาชนควรมีบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบร่วมกัน การแก้ไขปัญหา และหาแนวทาง เพื่อให้ชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข (ดูภาพกิจกรรมเพิ่มเติม)    
    
ภาพกิจกรรมปิดเสวนา

วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เวทีคืนข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมตำบลพร่อน อ.เมือง จ.ยะลา

เวทีคืนข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมตำบลพร่อน
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 13.30 - 16.00 น. ที่ผ่านมา ทางคณะทำงานโครงการสะพานระดับพื้นที่ตำบลพร่อน ได้จัดเวทีคืนข้อมูลโครงการสร้างความเป็นพลเมืองและการป้องกันมลภาวะทางอากาศและน้ำชุมชนตำบลพร่อน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ณ ห้องประชุมโรงเรียนบ้านพร่อน โดยมีคุณรุสดี ยูโซ๊ะ หัวหน้าโครงการ วิทยากรดำเนินรายการ คุณดอเล๊าะอาลี สาแม ทางคณะทำงานโครงการสะพานมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมี ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศร่วมสังเกตการณ์และให้ข้อเสนอแนะในเวทีครั้งนี้ด้วย และวิทยากรนำเสนอข้อมูลร่วม อาจารย์รอซีดี เลิศอริยะพงษ์กุล ได้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากการเก็บแบบสอบถามจากประชาชนในพื้นที่ตำบลพร่อน เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น โดยมีสาเหตุ ดังนี้ 1) โรงงานอุตสาหกรรมภายในชุมชน 2) การใช้สารเคมีของประชาชนในการทำการเกษตร 3) อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ท่อไอเสียจากรถยนต์ การเผาขยะ ฝุ่น น้ำเสีย กลิ่นเหม็น ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ปัญหาได้แต่จะต้องใช้เวลา และสร้างจิตสำนึกในการดำเนินชีวิตของประชาชน ในอดีตเมื่อ 20 ปีที่แล้วนั้นประชาชนอยู่ดีกินดี สุขภาพดี แต่หลังจากมีโรงงานอุตสาหกรรมภายในชุมชน ทำให้ประชาชนมีสุขภาพร่างกายที่แย่ลง เกิดจากปัญหาน้ำเสีย ขยะ อากาศ ฝุ่น เป็นต้น โรงงานจะย้ายไปอยู่ที่อื่นก็คงยาก ประชาชนจะย้ายไปก็ไม่ได้เพราะเป็นบ้านเกิดของตนเอง สิ่งที่สำคัญจะทำอย่างไรให้โรงงานกับประชาชนสามารถอยู่ร่วมกันได้ จะต้องสร้างเข้าใจร่วมกัน
                จากเวทีประชาชนมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) การขาดแคลนน้ำในการทำนา 2) น้ำเป็นพิษ 3) เด็กวัยรุ่นในชุมชนติดยาเสพติด และนำไปสู่ลักเล็กขโมยน้อย 4) ก่อนไม่มีโรงงานประชาชนไม่มีปัญหา 5) จะทำอย่างไรให้ประชาชนอยู่คู่ขนานกับโรงงานได้ 6) หลังจากนี้ประชาชนและองค์กรที่เกี่ยวข้องที่อยู่ภายในชุมชนจะร่วมหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง

วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เวทีสัญญาใจพลเมือง เยาวชนท่าสาปร่วมใจไร้ถังขยะ


เวทีสัญญาใจพลเมืองโครงการเยาวชนท่าสาปร่วมใจไร้ถังขยะ จัดประชุมเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมโรงเรียนบ้านท่าสาป จัดโดยสภาเด็กและเยาวชนเทศบาลตำบลท่าสาป โดยมี นายอัดลัน ดอเลาะ หัวหน้าโครงการ ได้อธิบายถึงที่มาของโครงการและสืบเนื่องนโยบายของนายมะสดี  หะยีปิ นายกเทศบาลตำบลท่าสาป ปี 2555 ซึ่งผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ดร.บุญสิทธิ์ไชยชนะ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ดร.ตายูดิน อุสมาน ร.ต.ต.กริยา ตระกูลศึกษา อ.พงษ์พันธ์ ชัยเศรษฐสัมพันธ์ นายชานนท์  สาและ ปลัดเทศบาลตำบลท่าสาป เจ้าหน้าที่โครงการสะพานมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผู้ปกครอง และนักเรียน    
นายอัดลัน ดอเลาะ นำเสนอกิจกรรมที่ได้ดำเนินการโครงการที่ผ่านมา และเสนอรูปแบบการจัดการแบบไร้ถังขยะ ทางคณะทำงานคิดและวางแผนร่วมกัน ซึ่งได้รูปแบบดังนี้ 1) ครัวเรือน คือ ควรมีจิตสำนึก มีการคัดแยกขยะภายในครัวเรือน และ นักเรียนนำขยะมาฝาก 2) ธนาคารตั้งอยู่ที่โรงเรียน จะรับฝากขยะทุกวันจันทร์ ก่อนเวลา 08.00 น. และมีผู้จัดการธนาคารขยะ 3) การจัดการขยะนำไปใช้ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และนำไปขาย 4) รายได้ จัดตั้งเป็นกองทุน เพื่อการศึกษา เพื่อส่งเสริมอาชีพ และเพื่อเด็กและคนยากจนภายในชุมชน สุดท้ายกลับไปสู่ครัวเรือน

วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พบปะพูดคุยเกี่ยวกับโครงการสะพานมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลากับคณะทำงานโครงการสะพานจากส่วนกลาง

เมื่อวันพุธ ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09.00 -12.00 น. ที่ผ่านมา ทางโครงการสะพานมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมี ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดี เป็นประธานที่ประชุมได้พบปะพูดคุยกับคุณเดวิด คุณมาเรียล และคุณเอ๋ ซึ่งเป็นคณะทำงานโครงการสะพานจากส่วนกลาง พูดคุยเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมา และมี ดร.บุญสิทธิ์ ไชยชนะ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ดร.ตายูดิน อุสมาน อ.อารยา ชินวรโกมล เจ้าหน้าที่โครงการสะพานมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ห้องประชุม 2 ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษามหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา
ประเด็นสำคัญคือ ทางโครงการสะพานสงขลาต้องการให้ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาดำเนินกิจกรรมในส่วนของ PGI ต่อ ทาง ดร.บุญสิทธิ์ ไชยชนะ ได้กล่าวถึงกิจกรรม PGI ในปีนี้ว่า จากที่ได้มีการพูดคุยกันในเบื้องต้นคือจะใช้เครื่องมือที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นผู้ออกแบบ สร้างเครื่องมือ และนำเครื่องมือที่ได้ มารณรงค์ในพื้นที่ เครื่องมือนี้ทำเสร็จแล้วจะมีกระบวนการ การนำไปใช้อย่างไร และประเด็นนี้ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะชี้แจงการใช้เครื่องมือ วันที่ 11-12 มีนาคม 2557 จึงนำเสนอกิจกรรมในรูปแบบของการสำรวจ (survey) ต่อไป  
คุณมาเรียล ได้เสนอกิจกรรมของ PGI จะมีกิจกรรมอยู่ 2 กิจกรรม ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา สามารถดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ได้โดยไม่ต้องรอทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา สามารถออกแบบกิจกรรมได้เอง ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ อาจนำเครื่องมือของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่

วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บรรยากาศการสนทนากลุ่ม (Focus group) ท่าสาป

   เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09.00 - 12.00น. ที่ผ่านมา โดยมีคุณอายุ กาซอ หัวหน้าโครงการ พร้อมด้วยผู้ดำเนินการสนทนากลุ่มคือ คุณดานียา เจ๊ะสนิ รองหัวหน้าโครงการ เพื่อซักถามประเด็นข้อคำถามที่กำหนด โดยมีคุณมะสดี หะยีปิ นายกเทศมนตรีตำบลท่าสาปให้เกียรติเป็นประธานที่ประชุม และมีหัวหน้าสำนักปลัด หัวหน้าฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณ ดร.ตายูดิน อุสมาน คณะทำงานโครงการสะพานมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เจ้าหน้าที่โครงการ ทางนายกพร้อมให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นการเรียนรู้งบประมาณทุกประเด็นคำถาม และมอบให้หัวหน้างานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณมาชี้แจงและตอบข้อคำถาม นายกมองประเด็นที่โครงการตั้งคำถามเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประชาชนและเข้าใจการบริหารจัดการของเทศบาลมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีประเด็นคำถาม ดังนี้

1. ที่มาของรายได้งบประมาณ ?
    ตอบ แหล่งที่มาคือ มาจากภาษีอากร ค่าปรับ เงินอุดหนุนจากรัฐบาล ค่าธรรมเนียม และรายได้ต่างๆ
2. ขั้นตอนในการทำงบประมาณประจำปี ?
    ตอบ 1) ดูจากโครงการในแผน 3 ปี 2) ร่วมประมาณการรายรับ - รายจ่าย 3) เสนอเจ้าหน้าที่งบประมาณเพื่อทำการวิเคราะห์ 4) เสนอนายกเทศมนตรีเพื่ออนุมัติ 5) เสนอเจ้าหน้าที่รวบรวมอีกครั้ง 6) สามารถดำเนินการระหว่าง 1 ตุลาคม - กันยายน ในปีถัดไป และ 7) รายงานให้ผู้ว่าทราบ.............

๓. มีไหมที่ผู้ว่าไม่เห็นด้วยกับแผนที่เสนอ ?
ตอบ ส่วนใหญ่แล้วเห็นด้วยตามที่เสนอ แต่ถ้ามีจะมีในส่วนความขัดแย้งภายในองค์กร

4. รายจ่ายเฉพาะการ ?
ตอบ งบประมาณจัดสรรโดยเฉพาะ เช่น นม อาหารนักเรียน และเบี้ยงเลี้ยงผู้สูงอายุ เป็นต้น

5. อะไรคือรายจ่ายเพื่อการลงทุน ?
ตอบ ครุภัฑณ์ (คอมพิวเตอร์) ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง อาคาร และถนน

๖. เงินนอกงบประมาณ ?
ตอบ เงินที่ได้มาไม่ได้อยู่ในแผนงบประมาณ จะเข้ามาทางบัญชี โดยได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล

7. งบประมาณโอนได้หรือไหม ?
ตอบ โอนงบประมาณได้ทั้งหมด แต่ต้องไม่กระทบต่องบประมาณอื่นๆ

8. กรณีช่วงเตรียมแผน แต่ตำแหน่งใกล้หมดวาระ ปฏิบัติแทนได้หรือไหม ?
ตอบ ปฏิบัติหน้าที่แทนได้เท่าที่จำเป็น แต่ถ้าไม่ปฏิบัติแทนซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่อองค์ก็ สามารถทำได้เลย

๙. ก่อนจัดทำแผนงบประมาณ รู้ได้อย่างไรว่าจะใช้งบประมาณเท่าใด ?
ตอบ โดยใช้เกณฑ์งบประมาณปีที่ผ่านมาเป็นหลักในการประมาณการ

๑๐. งบเฉพาะกิจ มีแหล่งทุนจากต่างประเทศ รับได้หรือไม่ ?
ตอบ รับได้ ส่วนใหญ่เป็นรัฐบาลอุดหนุน ถ้ามีแหล่งอื่นต้องพิจารณาจากสภาก่อน ซึ่งมีเงื่อนไขต่างๆ มากมาย

๑๑. แผนการดำเนินงานบังคับใช้เดือนไหน ?
ตอบ เดือนตุลาคมของทุกปี/ปีงบประมาณใหม่
๑๒. เทศบัญญัติ สามารถแก้ไขได้หรือไหม ?
ตอบ สามารถแก้ไขได้ โอนได้ มีความยืดหยุนส่วนใหญ่จะเป็นเงินเดือน

๑๓. กันเงินคือ ?
ตอบ มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงิน เช่น นำเงินของปีนี้ใช้ในปีหน้า

๑๔. แบบฎีกาคือ ?
ตอบ ฟอร์มกรอบรายละเอียดเกี่ยวกับการจ่ายเงินขององค์กร

๑๕. เทศบัญญัติมีความสำคัญอย่างไรต่อเทศบาลและประชาชน ?
ตอบ เทศบัญญัติมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารจัดการองค์กร เป็นเงินที่มาใช้จ่ายในการพัฒนาองค์กร และชุมชน


๑๖. ปัญหาอุปสรรคของเทศบัญญัติ ?
 ตอบ ๑. โครงการและกิจกรรมมาก ๒. งบประมาณมีจำนวนจำกัด ๓. ประชาชนมีความเข้าใจว่าเทศบาลมีงบประมาณมาก ๔. รายจ่ายของเทศบาลมีรายจ่ายประจำปีที่สูง ๕. การพัฒนาองค์กรต้องใช้งบประมาณเป็นสำคัญ ๖. โครงการต่างๆ ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ทั้งหมด


ทางนายกเทศมนตรีให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมรับทราบงบประมาณของหน่วยงาน ซึ่งเป็นการอยากที่จะเข้าไปศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณ เนื่องด้วยหลายหน่วยงานไม่พร้อมที่จะให้ข้อมูล เป็นการยืนยันได้เลยว่าการบริหารจัดการของเทศบาลตำบลท่าสาป มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีผู้บริหารที่ดี เก่ง วิสัยทัศน์กว้างไกล นำการพัฒนาสู่ชุมชนอย่างแท้จริง



วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กิจกรรมรายงานความก้าวหน้าและปรับแผนการขับเคลื่อนโครงการสะพานฯ ระดับพื้นที่ ต.พร่อน อ.เมือง จ.ยะลา


วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมากรรมการประสานงาน คุณดอเล๊าะอาลี สาแม และคณะทำงานในพื้นที่ ต.พร่อน อ.เมือง จ. ยะลา ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานโครงการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในพื้นที่ของ USAID ผ่านโครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย ปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมจัดประชุมติดตามความก้าวหน้าและปรับแผนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและทันต่อเวลา โดยจัดประชุม ณ ห้องประชุมร้านยัสมีน อ.เมือง จ.ยะลา 

      ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ มีสมาชิกดำเนินงานในโครงการ ที่ปรึกษาการดำเนินงานในพื้นที่ คณะกรรมการดำเนินงานเข้าร่วมกิจกรรม พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินกิจกรรมในระยะต่อไป ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นคณะกรรมการประสานงานโครงการสะพานฯ  อาจารย์พงษ์พันธ์ ชัยเศรษฐสัมพันธ์  คณะทำงานในพื้นที่  ร.ต.ต.กริยา ตระกูลศึกษา ที่ปรึกษาคณะทำงาน พร้อมนางศศิตา สุขขี ผู้จัดการโครงการ นางสาวพารีซัน หะ เจ้าหน้าที่การเงิน  โดยมีโครงการในพื้นที่ ต.พร่อน อ.เมือง จ.ยะลา นำเสนอความก้าวหน้าของโครงการ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้