วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ทุนอุดหนุนวิจัย กลุ่ม Action Learning หลังจากปรับชื่อโครงการ และพื้นที่ (ล่าสุด)

รายชื่อผู้ได้รับทุนอุดหนุนวิจัยกลุ่มเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning) พร้อมชื่่อโครงการ และพื้นที่วิจัย หลังการปรับข้อเสนอโครงการ (ล่าสุด)
https://docs.google.com/file/d/0B-67SKC75dE4Nzk3YmZCaklSSlE/edit

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมปรับข้อเสนอโครงการวิจัย Action Learning เชิงพื้นที่


   เมื่อวันที่ 29-30 กันยายน 2555 โครงการวิจัยปฏิบัติการจากการเรียนรู้ (Action Learning) จัดกิจกรรมปรับข้อเสนอโครงการวิจัย เพื่อให้เข้ากรอบเชิงพื้นที่ ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารยะลาพาเลซ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ ให้ผู้ได้รับทุนวิจัยปรับข้อเสนอโครงการให้มีความสมบูรณ์ ชัดเจน มีความเป็นไปได้ในการดำเนินงานและมีโอกาสสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยยึดพื้นที่เป็นฐานในการเรียนรู้  ซึ่งมีระยะเวลาในการปฏิบัติงานเพียง 3 เดือน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2555  และดำเนินงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งขณะนี้กำลังมีเหตุการณ์ก่อความไม่สงบและมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเป้าหมายความสำเร็จของกิจกรรมครั้งนี้ คือ การส่งข้อเสนอโครงการฉบับปรับแก้ไขสมบูรณ์เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรม พร้อมกับลงนามสัญญารับทุนอุดหนุนการวิจัย
          ข้อค้นพบที่สำคัญในกิจกรรมนี้คือ นักวิจัยที่ได้รับสนับสนุนการวิจัย จำนวน 19 โครงการ จากทั้งหมดที่ประกาศรับ 21 ทุน (ปริญญาตรี 7 ทุน ปริญญาโท 7 ทุน และภาคประชาสังคม 7 ทุน) เนื่องจากนักศึกษาปริญญาตรี นักศึกษาปริญญาโท เสนอโครงการไม่ครบตามจำนวนทุน คณะกรรมการจึงปรับทุนให้เป็นภาคประชาสังคมเพิ่มขึ้น ผู้รับทุน Action Learning จึงประกอบด้วย นักศึกษาปริญญาตรี  5 ทุน (ทุนละ 30,000 บาท) นักศึกษาปริญญาโท 5 ทุน (ทุนละ 40,000 บาท) และภาคประชาสังคม 9 ทุน (ทุนละ 77,750 บาท) โดยปรับงบประมาณของทุนนักศึกษาปริญญาตรี 2 ทุน และปริญญาโท 2 ทุน เพิ่มให้กับภาคประชาสังคมอีก 2 ทุน รวมเป็นภาคประชาสังคม 9 ทุน  โดยขณะจัดกิจกรรมการปรับข้อเสนอโครงการ พบว่าภาคประชาสังคม นักศึกษาปริญญาตรี และปริญญาโท สามารถสร้างเครือข่ายการทำงานเชิงพื้นที่ร่วมกันได้เป็นอย่างดี มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันเป็นอย่างดี มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ระหว่างนักวิจัย รวมทั้งมีการวางแผนการลงพื้นที่เพื่อจัดกิจกรรมร่วมกัน โดยสามารถกำหนดพื้นที่ได้ทั้งหมด 9 พื้นที่ ประกอบด้วย จังหวัดยะลา 5 พื้นที่ ปัตตานี 2 พื้นที่ และนราธิวาส 2 พื้นที่  หลังเสร็จสิ้นกิจกรรม ทุกโครงการสามารถปรับข้อเสนอโครงการและลงนามในสัญญาในวันที่ 30 กันยายน 2555 ได้ทั้งหมด 16 โครงการ และส่งโครงการและลงนามสัญญาในวันที่ 1 ตุลาคม 2555  ได้อีก 3 โครงการ รวมทั้งหมด 19 โครงการ ครบถ้วนตามเป้าหมาย และกำหนดให้รับเงินอุดหนุนงวดแรก 50% ได้ในวันที่ 10 ตุลาคม 2555  พร้อมกับวางแผนให้คณะกรรมการโครงการ Action Learning ลงพื้นที่เพื่อติดตามครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 20 ตุลาคม 2555 – 20 พฤศจิกายน 2555 โดยเน้นกิจกรรมเปิดตัวโครงการ สร้างความเข้าใจระหว่างนักวิจัยกับชุมชน
          ปัญหาที่ค้นพบจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ นักวิจัยยังขาดความรู้และทักษะในการลงพื้นที่และถอดบทเรียน โดยเฉพาะนักศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท และการวางแผนลงพื้นที่เพื่อติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรม ซึ่งมีจำนวน 9 คน ต้องลงพื้นที่ 9 พื้นที่ 19 โครงการ ซึ่งคณะกรรมการจะได้วางแผนงานเพื่อปรับแนวทางในการแก้ไขปัญหานี้ต่อไป [ดูภาพเพิ่มเติม...]