วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Thai Community Score Card เครื่องมือที่ทำให้ประชาชนมีสิทธิ์มีเสียงในฐานะพลเมืองของสังคม

บัตรคะแนนศักยภาพชุมชน (CSC) หรือเรียกว่า Balance Score Card และ People Score Card นั้น เป็นเครื่องมือช่วยแก้ปัญหาที่เกิดจากการให้บริการที่ต่ำกว่ามาตรฐานของภาครัฐ โดยมีคำจำกัดความ ที่ช่วยให้ความเข้าใจเพิ่มเติมดังนี้
  • เป็นเครื่องมือที่พัฒนาศักยภาพในชุมชน
  • เป็นเครื่องมือส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
  • เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบการทำงานของภาครัฐและบริการสาธารณะ
  • เป็นเครื่องมือที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีสิทธิมีเสียง
  • เป็นเครื่องมือที่ทำให้ชาวบ้านแก้ปัญหาร่วมกับหน่วยงานของรัฐ
  • เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างมีระบบ
  • เป็นเครื่องมือที่พัฒนาศักยภาพในชุมชน
ผลจากการนำ Balance Score Card และ People Score Card ไปใช้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้และส่วนอื่นๆ ซึ่งได้รับผลการตอบรับการใช้เครื่องมือดังกล่าวด้วยดี โครงการสะพานโดยการสนับสนุนจากองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (United State Agency International Development: USAID) จึงนำเสนอองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีไว้ในเว็บไซต์ http://www.thaiscorecard.org/#top  ผู้สนใจหรือเครือข่ายภาคประชาสังคมสนใจนำไปใช้ประโยชน์ศึกษาได้จากเว็บไซต์ดังกล่าว

คณาจารย์และเครือข่ายภาคประชาสังคมมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเข้าร่วมประชุมสัมมนาปิดโครงการสะพานฯ

ดูภาพกิจกรรมเพิ่มเติม...
โครงการสะพานโดยการสนับ
สนุ
นจากองค์การเพื่อการพัฒนา

ระหว่างประเทศของสหรัฐ
อเมริกา
 (United State Agency International Development: USAID) ได้เริ่มโครงการเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตย การสร้างธรรมาภิบาล สิทธิพลเมืองในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 จนถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2558 โดยมีกลุ่มภาคประชาสังคมต่างๆ ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ รวมทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้รับการสนับสนุนให้ดำเนินงานโครงการและกิจกรรมต่างๆ  เยาวชนและประชาชนภาคประชาสังคม องค์กรเอกชนไม่หวังผลกำไรที่เข้าร่วมโครงการ ก็มีโอกาสพัฒนาตนเอง ทั้งภาวะผู้นำ การพัฒนาทักษะการใช้เครื่องมือและเทคนิคต่างๆ ในการดำเนินงานในโครงการ จนกระทั่งมีความรู้ความสามารถในด้านการพัฒนาในพื้นที่ และมีความเข้าแข็งมาจนถึงปัจจุบัน

      มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเอง ในฐานะเป็นมหาวิทยาลัยในพื้นที่ได้บันทึกข้อตกลงร่วมกิจกรรมกิจกรรมกับโครงการสะพานฯ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 จนถึงปัจจุบันในปี พ.ศ. 2558 โดยระหว่างวันที่ 10-11 สิงหาคม 2558 ที่ผ่านมา ได้มอบหมายให้คณาจารย์และเครือข่ายภาคประชาสังคมของมหาวิทยาลัยฯ จำนวน 5 ท่าน ประกอบด้วย ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีที่กำกับและประสานงาน ดร.ตายุดิน อุสมาน และ อ.อารยา ชินวรโกมล อาจารย์จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นายพงษ์พันธุ์ ไชยเศรษฐ์สัมพันธ์ และนายริดวาน ดาหะมิ เครือข่ายภาคประชาสังคมในพื้นที่ ได้เข้าร่วมกิจกรรมถอดบทเรียน สรุป และประเมินผลการดำเนินงานโครงการสะพานในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเรียกว่ากิจกรรม Final USAID Sapan Program Meeting -Deep South จัดขึ้น ณ โรงแรมหาดใหญ่เซ็นทารา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยมีเครือข่ายจากภาคประชาสังคมอื่นๆ ในพื้นที่เข้าร่วมกว่า 40 คน ผลการถอดบทเรียนจากสิ่งที่ได้จาโครงการสะพานฯ ปัญหา อุปสรรค และสิ่งที่อยากให้ดำเนินการต่อในพื้นที่  จะได้นำข้อมูลไปเสนอ USAID เพื่อขออนุมัติโครงการในระยะยาวต่อไป ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าโครงการสะพานฯ จะได้กลับเข้ามาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้อีกครั้งเร็วๆ นี้ ทั้งนี้เพื่อร่วมกันพัฒนาความเข้มแข็งภาคประชาสังคม ส่งเสริมการพัฒนาบทบาทสตรีและสิทธิทางเพศ  การพัฒนาคุณภาพด้านสื่อสารมวลชนในพื้นที่ รวมทั้งการพัฒนาโอกาสการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ให้มากขึ้นและเป็นไปอย่างยัั่งยืนต่อไป

วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2558

วันที่ 6# กิจกรรมซ้อมละครเวทีเพื่อเยาวชน (Forum Theatre)


วันนี้ 6 เมษายน 2558 วันจักรี เป็นวันหยุดราชการ แต่กลุ่มนักศึกษาและผู้นำเยาวชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ พร้อมวิทยากร Mr. HJALMAR JORGE JOFFRE-EICHORN คุณภิภพ อุดมมิตติพงษ์ และกลุ่มเยาวชนผู้ประสานงานจากกลุ่มลูกเหรียง เครือข่ายเยาวชนในพื้นที่ ยังคงมีกิจกรรมซ้อมการแสดงละครเพื่อสื่อสารถึงเรื่องราวในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ โดยใช้กิจกรรมที่เรียกว่า Forum Theatre นับเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ และเป็นกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ของเยาวชนในพื้นที่ ผู้สนใจติดตามชมได้ที่ ห้องประชุมบัวแก้ว ชั้น 3 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏายะลา และโปรดติดตามผลงานและข้อมูล สารสนเทศและสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ต่อไป

กิจกรรม Theatre Forum เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรื่องราวระหว่างผู้แสดงซึ่งเป็นกลุ่มเยาวชน และผู้ชมซึ่งเป็นกลุ่มเยาวชนในพื้นที่เช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นการแสดงที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมมีส่วนร่วมกับเวที นับเป็นเครื่องมือในการทำกิจกรรมของเยาวชนที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ทั้งนี้ Mr. HJALMAR JORGE JOFFRE-EICHORN (มร.ยัลมา) เป็นผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาเยาวชนในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง มีประสบการณ์สูง เป็นที่ยอมรับในการนำกิจกรรมดังกล่าวมาพัฒนาเยาชน [ดูภาพเพิ่มเติม..]

วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2558

วันที่ #5 วันที่ 5 เมษายน 2558: กิจกรรมวันสุดท้ายการอบรมที่เข้มข้นขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน 2558 กิจกรรมอบรม Forum Theatre วันสุดท้าย เยาวชนจำนวน 27 คน ก่อนซ้อมจริงวันที่ 6 เมษายน 2558 และแสดงจริงวันที่ 7 เมษายน 2558  และต้องชื่นชมเยาวชนกลุ่มดังกล่าว ที่ร่วมกิจกรรมอย่างเข้มแข็งมาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2558 เป็นต้นมา ด้วยความมุ่งมั่น ความตั้งใจ ความอดทน ทั้งนี้ เพื่อสะท้อนและสื่อสารความคิดเห็นของเยาวชน นักเรียน นักศึกษาในพื้นที่จริงในสามจังหวัดชายแดนใต้  ซึ่งเป้าหมายในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ ต้องการรวบรวมข้อมูลและความต้องการจากทั้งการแสดงบนเวที และการสื่อสารกับผู้ชมที่เป็นเยาวชนเป็นส่วนใหญ่ สิ่งที่ได้จะนำไปเป็นกรอบและแนวทางในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และโครงการที่จะดำเนินการโดยเยาวชนในพื้นที่ เป้าหมายอยู่ที่ความเจริญงอกงามในสังคม ความสันติสุขและมีสันติภาพในพื้นที่สามจังหวัดนี้ต่อไป

[ภาพประกอบเพิ่มเติม  ชุด 1 และ ชุด 2)


วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558

กิจกรรมวันที่ #2 วันที่ 2 เมษายน 2558 เริ่มนำเสนอเนื้อหาและประเด็นของเยาวชนในพื้นที่่

ดูภาพเพิ่มเติม...
กิจกรรมวันที่ 2 ของการอบรม Forum Theatre ซึ่งนักศึกษาและผู้นำเยาวชนเกิดความเข้าใจและใกล้ชิดวิทยากร และผู้แปลภาษามากขึ้น จึงได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ร่วมกับวิทยากรตลอด มีกิจกรรมกระตุ้นให้นำเสนอความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆ ในสถานการณ์จริงปัจจุบันในพื้นที่ กล้าแสดงออกผ่านกิจกรรมการฝึกอบรมที่เน้นปฏิบัติจริง ทำให้นักศึกษาและเยาวชนเริ่มทบทวนและสำรวจเรื่องราวต่างๆ ในพื้นที่ในปัจจุบัน และสิ่งที่อยากให้เกิดขึ้นในอนาคต อันจะเป็นการปูแนวทางในการรวบรวมและสังเคราะห์ข้อมูลผ่านเวทีการแสดง Forum Theatre และเปิดโอกาสให้นักศึกษาและเยาวชน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ชมได้มีโอกาสร่วมในเวที Forum Theatre ในครั้งนี้



วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558

วันที่ #1 เริ่มกิจกรรมอบรมปฏิบัติการกิจกรรม Theatre Forum

กิจกรรมวันนี้ (1 เมษายน 2558) เริ่มจากเวลา 08.30-09.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยการลงทะเบียนของเยาวชนและนักศึกษาที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมอบรมครั้งนี้ จำนวน 27 คน ซึ่งประกอบด้วย ผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผู้นำเยาวชนกลุ่มต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ โดยเน้นเฉพาะในสามจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งนับได้ว่าเยาวชนเหล่านี้ นับเป็นอนาคตของพื้นที่ที่เขามีสิทธิ์ในการร่วมคิดร่วมทำ และร่วมพัฒนาในพื้นที่
    จากนั้น ก็เป็นการกล่าวต้อนรับเยาวชนโดย คุณวรรณกนก เปาะอีแต หัวหน้าโครงการ พร้อมทีมงานจากกลุ่มลูกเหรียง โดยมี ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ปรึกษาโครงการสะพาน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ซึ่งได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ให้เป็นผู้ประสานงานและให้คำปรึกษาตลอดการจัดกิจกรรม ในฐานะบทบาทของสถาบันการศึกษาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเยาวชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ และเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และการมุ่งพัฒนาองค์กรให้เป็น "คลังปัญญา" ที่พึ่งของชุมชนต่อไป
    ลำดับต่อมา วิทยากรกระบวนการอบรม Mr. Hjalmar Jorge Joffre-Eichhorn ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์จากเยอรมันนี มีประสบการณ์ในการใช้เครื่องมือหรือกิจกรรมที่เรียกว่า Forum Theatre ได้เริ่มแนะนำตนเอง ประสบการณ์ต่างๆ จากพื้นที่ประเทศที่มีปัญหาความขัดแย้งในด้านต่างๆ  ผลการฝึกอบรมปฏิบัติการครั้งนี้ จะเป็นการพัฒนาเยาวชนด้วยกิจกรรมการมีส่วนร่วม ที่เน้นใช้การแสดงบทบาทสมมติในสถานการณ์จริง และผู้ชมจะมีโอกาสร่วมแสดงความเห็นต่อเวที [ดูภาพเพิ่มเติม ชุดที่ 1, ชุดที่ 2]

วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานจัดประชุมปฏิบัติงาน "Theatre Forum"

ดูภาพเพิ่มเติม...
วันอังคารที่ 31 มีนาคม 2558 เวลา 10.00-12.00 น. คณะกรรมการดำเนินงานจัดประชุมปฏิบัติการ Forum Theatre จัดประชุมและดูสถานที่เพื่อเตรียมความพร้อมในการประชุมปฏิบัติการระหว่างวันที่ 1-5 เมษายน 2558 และจัดแสดงในวันที่ 7, 8 เมษายน 2558 ซึ่งมีคณะกรรมการสามฝ่ายร่วมกันในการขับเคลื่อนครั้งนี้ ได้แก่ 1) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 2) นักศึกษาและเยาวชนในพื้นที่ 3)รวมทั้งเยาวชนกลุ่มลูกเหรียง  เพื่อนำเสนอข้อมูลสนับสนุนในการพัฒนาเยาวชนต่อสภาเพื่อการพัฒนาเยาวชนชายแดนภาคใต้ (Deep South Youth Congress: DSYC) และเกิดแนวทางในการพัฒนาด้านเยาวชนในพื้นที่อย่างยั่งยืนต่อไป
     สำหรับโครงการสะพาน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยการสนับสนุนของ USAID ซึ่งได้จัดให้มีสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมครั้งนี้ โดยมีเป้าหมายสำคัญได้แก่ ได้กรอบยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาระยะเวลา 3 ปีข้างหน้าของเยาวชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้อย่างยั่งยืน  การจัดโครงสร้างองค์กรที่มีส่วนร่วมและเข้มแข็งจากเยาวชนทุกกลุ่ม  เยาวชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณให้ดำเนินกิจกรรมจากทั้งองค์กรทั้งภายในและต่างประเทศ เกิดความสัมพันธ์ที่ดีของสภาเพื่อการพัฒนาเยาวชน เป็นที่รู้จักและมีบทบาทในพื้นที่สาธารณะ
[ดูภาพเพิ่มเติม...]