วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

วิดีทัศน์สรุปผลการดำเนินงานของโครงการสะพาน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

ขอเชิญชมรายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการสะพาน ปี 2554-2556
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยการสนับสนุนจากองค์กรพัฒนาระหว่างประเทศของประเทศสหรัฐอเมริกา (USAID)


วันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557

คณะผู้ประสานงานจังหวัดสงขลา สัมภาษณ์ผลการดำเนินงานและความสำเร็จโครงการสะพานฯ มรย.

เมื่อวันนี้ 29 เมษายน 2557 ที่ห้องประชุม 2 ชั้น 2 สำนักงานอธิการบดี อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา คณะเจ้าหน้าที่โครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย ศูนย์ประสานงานจังหวัดสงขลา เข้าสัมภาษณ์คณะทำงานโครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา  ซึ่งดำเนินงานมาเป็นปีที่ 3 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลารร่วมการต้อนรับ พร้อมด้วย ดร.บุญสิทธิ์ ไชยชนะ รองอธิการฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณาจารย์ และคณะทำงานภาคประชาสังคมที่ทำงานในพื้นที่ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมให้สัมภาษณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จาผลการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมา
   ประเด็นการสัมภาษณ์ครั้งนี้ ได้แก่ แนวทางการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมาที่ประสบความสำเร็จ สามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมายในระยะเวลาที่โครงการกำหนด มีผลงานเผยแพร่ สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและภาคประชาสังคม

วันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2557

โครงการสะพานฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมประชุมระดับเครือข่าย ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

วันที่ 9-10 เมษายน 2557 คณะทำงานโครงการสะพานฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 9 ท่าน นำโดย ดร.บุญสิทธิ์ ไชยชนะ รองหัวหน้าโครงการฯ ซึ่งทำหน้าที่รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการกำกับการดำเนินงานโครงการฯ และ ดร.ศิริชัย นามบุรี อ.อารยา ชินวรโกมล ผู้ประสานงานโครงการ พร้อมคณะทำงานในพื้นที่ ต.พร่อน และ ต.ท่าสาป อ.เมือง จ.ยะลา ได้แก่ คุณพงษ์พันธ์ ชัยเศรษฐสัมพันธ์   ร.ต.ต.กริยา ตระกูลศึกษา  คุณรอซีดี  เลิศอริยพงษ์กุล คุณดอเล๊าะอาลี สาแม รวมทั้ง คุณพารีซัน หะ และ คุณศศิตา สุขขี เจ้าหน้าที่ประจำโครงการฯ
    สำหรับการจัดกิจกรรมครั้งนี้ โครงการสะพานฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้เผยแพร่ผลการดำเนินงานของการดำเนินงานโครงการสะพานฯ ตั้งแต่ปี 2554-2556 โดยจัดนิทรรศการนำเสนอในภาคโปสเตอร์ เผยแพร่เอกสารรายงานผลการดำเนินงาน เผยแพร่สรุปผลการดำเนินงานในรูปแบบวารสาร รวมทั้งการนำเสนอผลการดำเนินงานในรอบ 3 ปี เป็นวิดีทัศน์ โดย ดร.บุญสิทธิ์ ไชยชนะ รองหัวหน้าโครงการฯ เป็นผู้ดำเนินรายการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายโครงการสะพาน 6 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมทั้งการนำเสนอผลการดำเนินงานด้านพัฒนาดัชนีธรรมาภิบาลจังหวัด (Provincial Governance Index: PGI) ของศูนย์ผู้นำธุรกิจเพื่อสังคมแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์       สำหรับผลจากการดำเนินงานโครงการสะพานฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จะเป็นแนวทางในการเลือกพื้นที่ ต.ท่าสาป และ ต.พร่อน อ.เมือง จ.ยะลา เป็นพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาเชิงพื้นที่ให้เป็นต้นแบบอย่างยั่งยืนต่อไป  [ดูภาพประกอบเพิ่มเติม...]

วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2557

โครงการสะพานฯ กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ดัชนีธรรมาภิบาลจังหวัด

วันที่ 3 เมษายน 2557 เวลา 08.30-16.30 น. โครงการสะพานฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่เครื่องมือดัชนีธรรมาภิบาลจังหวัด พ.ศ. 2556  ณ ห้องขวัญจุฑา โรงแรมปาร์ควิว จังหวัดยะลา โดยมี ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด โดยมี ผศ.สมศักดิ์ ด่านเดชา เป็นผู้ประสานงาน อ.อารยา ชินวรโกมล ผู้ช่วยผู้ประสานงาน และนายอับดุลเลาะ ยูโซ๊ะ ผู้ประสานงาน ซึ่งเนื้อหาของแบบประเมินดัชนีธรรมาภิบาลระดับจังหวัด พัฒนาโดยศูนย์ผู้นำธุรกิจเพื่อสังคมแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ่โดยการสนับสนุนขององค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา
    แบบประเมินดัชนีธรรมาภิบาลระดับจังหวัด ประกอบด้วย ใน 6 มิติ ได้แก่ 1) ความโปร่งใส (Transparency) 2) ความรับผิดชอบ (Accountability) 3) การมีส่วนร่วม (Participation) 4) นิติธรรม (Rule of Law)  5) การต่อต้านคอร์รัปชั่น (Combating Corruption) และ 6) การส่งมอบบริการสาธารณะ (Public Service Delivery) ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาได้ให้ข้อเสนอแนะในรายละเอียดข้อคำถามของแบบวัดฯ ทั้งในระเด็นความสมบูรณ์ของเนื้อหาในแบบประเมิน กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล และกระบวนการแปลผลจากแบบวัด นับเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สามารถเป็นที่พึงพิงและชี้แนะสังคมในเรื่องของประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลท้องถิ่น ซึ่งนับเป็นบทบาทของมหาวิทยาลัยในฐานะ "สถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น" มุ่งสู่ "คลังปัญญาชายแดนภาคใต้"  และจะได้นำผลจากการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันการประชุมระดับชาติของโครงการสะพานฯ เครือข่าย 6 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา) ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 9-10 เมษายน 2557 ต่อไป  [ภาพกิจกรรมเพิ่มเติม...]

วันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2557

โครงการสะพานฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาจัดกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สรุปโครงการ

โครงการสะพานโดยการสนับสนุนจากองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (UNITED STATES AGENCY INTERNATIONAL DEVELOPMENT: USAID) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดกิจกรรม "งานมหกรรมการสร้างสำนึกพลเมืองเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลท้องถิ่น ปี 3" เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2557 เวลา 08.00-16.30 น. ณ หอประชุมหลังเล็ก มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากภาคประชาชนจากทุกอำเภอในพื้นที่ รวมทั้งนักศึกษาที่ให้ความสนใจจำนวน 250 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีเผยแพร่กิจกรรมโครงการสะพานฯ รวมทั้งเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการส่งเสริมประชาธิปไตยและธรรมภิบาลท้องถิ่น มีกิจกรรมที่สำคัญได้แก่ หนังตะลุงคณะ รปศ.ตะลุงศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา แสดงในหัวเรื่อง "ธรรมาภิบาลปลายด้ามขวาน" ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "ก้าวสู่ธรรมภิบาลเชิงรุกสู่สันติสุขอย่างยั่งยืน" โดย พลเอกเอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า และเสวนาวิชาการ เรื่อง "ธรรมาภิบาลกับการสร้างความเข้มแข็งในจังหวัดชายแดนใต้" โดยวิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่ ได้แก่ คุณกมล เรืองน้อย ประธานป้องกันและปราบปรามการทุจประจำจังหวัดยะลา คุณวิรัช อัศวสุขสันต คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดยะลา ภาคธุรกิจเอกชน และ ดร.ตายุดิน อุสมาน อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ดำเนินการรายการโดย คุณรอซีดี เลิศอริยะพงษ์กุล ภาคประชาสังคมในพื้นที่
    สำหรับในช่วงบ่าย เป็นเวทีการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากภาคประชาชนและเยาวชนที่ได้รับทุนสนับสนุนดำเนินงานในพื้นที่ ต.พร่อน และ ต.ท่าสาป อ.เมือง จ.ยะลา จำนวน 6 โครงการ ผลการจัดกิจกรรมครั้งนี้ นับเป็นการเผยแพร่ผลการดำเนินโครงการที่ดำเนินงานโดยภาคประชาสังคมในพื้นที่ สร้างความยั่งยืนในการพัฒนาด้านธรรมาภิบาลในพื้นที่ต่อไป นับเป็นโครงการที่เป็นแบบอย่างในการส่งเสริมให้ชุมชนเป็นที่พึงของตนเอง สำหรับเอกสารเผยแพร่อื่นๆ จะได้นำเสนอในโอกาสต่อไป
[ภาพกิจกรรมเพิ่มเติม...]

วันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2557

การเตรียมความพร้อมสถานที่จัดกิจกรรมปิดโครงการสะพาน ปี 3 โดยการสนับสนุนจากองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (USAID)

โครงการสะพานปี 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เตรียมสถานที่เพื่อจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงาน โดยใช้ชื่อกิจกรรม "งานมหกรรมการสร้างสำนึกพลเมืองเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลท้องถิ่น ปี 3" โดยกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 31 มีนาคม 2557  เวลา 08.30-16.00 น. ณ หอประชุมหลังเล็ก มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีกิจกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ก้าวสู่ธรรมาภิบาลเชิงรุกสู่สันติสุขอย่างยั่งยืน” โดย พลเอก เอกชัย  ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า
  เสวนาวิชาการ เรื่อง “ธรรมาภิบาลกับการสร้างความเข้มแข็งในจังหวัดชายแดนใต้”  โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของภาคประชาสังคม ชุมชน และเยาวชนที่ได้รับทุนสนับสนุนจัดโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลในพื้นที่จาก ตำบลพร่อน และตำบลท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โปรดติดตามผลการจัดกิจกรรมในโอกาสต่อไป [ติดตามถ่ายทอดสดได้ที่ Yala Cable Network :YCN ที่เว็บไซต์ http://www.ycncabletv.net 

วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2557

ขอเรียนเชิญทุกท่านร่วมงาน "มหกรรมการสร้างสำนึกพลเมืองเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลท้องถิ่น ปี 3"

กำหนดการ
วันจันทร์ ที่ 31 มีนาคม 2557 เวลา 08.30 - 16.30 น.
ณ ห้องประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
08.30 - 09.00 น.       ลงทะเบียน
09.00 - 09.20 น.       การแสดง  หนังตะลุง “ธรรมาภิบาลปลายด้ามขวาน”
โดย นักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา  
            
09.20 - 09.30น.        พิธีเปิด โดย พันตำรวจเอก ทวี  สอดส่อง
เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
กล่าวรายงาน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ  โยธาทิพย์ 
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
09.30 - 10.00 น.       ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ก้าวสู่ธรรมาภิบาลเชิงรุกสู่สันติสุขอย่างยั่งยืน”
                                โดย พลเอก เอกชัย  ศรีวิลาศ
ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า
10.00 - 12.00 น.       เสวนาวิชาการ เรื่อง “ธรรมาภิบาลกับการสร้างความเข้มแข็งในจังหวัดชายแดนใต้”
โดยมีวิทยากรร่วมเสวนาดังนี้
นายกมล  เรืองน้อย       ประธานป้องกันและปราบการทุจริตประจำจังหวัดยะลา
นายวิรัช  อัศวสุขสันต์    คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดยะลาภาคธุรกิจเอกชน 
ดร.ตายูดิน  อุสมาน       อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์                                    มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
พลเอก เอกชัย  ศรีวิลาศ  ผอ.สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า
ดำเนินรายการโดย  นายรอซีดี  เลิศอริยะพงษ์กุล


วันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2557

เวทีคืนข้อมูลขยายผลการศึกษาสู่ชุมชน การเรียนรู้งบประมาณเทศบาลตำบลท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

เมื่อวันจันทร์ ที่ 10 มีนาคม 2557 เวลา 09.00 – 15.30 น. ที่ผ่าน ทางคณะทำงานโครงการสะพานระดับพื้นที่ตำบลท่าสาป โดยมี นายอายุ กาซอ หัวหน้าโครงการได้จัดกิจกรรมเวทีคืนข้อมูลการเรียนรู้งบประมาณเทศบาลตำบลท่าสาป ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.บุญสิทธ์ ไชยชนะ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ กล่าวเปิดเวทีข้อมูล พร้อมด้วยคณะทำงานโครงการสะพาน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ดร.ตายูดิน อุสมาน ร.ต.ต.กริยา ตระกูลศึกษา อ.พงษ์พันธ์ ชัยเศรษฐสัมพันธ์ อ.รอซีดี  เลิศอริยะพงษ์กุล คณะทำงานระดับพื้นที่ตำบลพร่อน และภาคประชาชน รวมทั้งหมด 100 คน

เวลา 09.15 – 10.30 น. นำเสนอผลการศึกษา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งบประมาณของเทศบาลตำบลท่าสาป โดยมีวิทยากร คุณดานียา เจ๊ะสนิ คุณอุสมาน บือราเฮง และดำเนินการโดย คุณรอซีดี เลิศอริยะพงษ์กุล ข้อมูลเบื้องต้นที่ควรรู้ และเข้าใจเกี่ยวการเรียนรู้งบประมาณ ดังนี้

ด้านแหล่งที่มาของงบประมาณสนับสนุน ซึ่งแบ่งเป็นหมวด ดังนี้ 1. หมวดภาษีอากร 2. หมวดค่าธรรมเนียม ค่าปรับ ใบอนุญาต 3. หมวดรายได้จากทรัพย์สิน 4. หมวดรายได้เบ็ดเตล็ด 5. หมวดภาษีจัดสรร 6. เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้ในแต่ละปี

วันอังคารที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557

เวทีคืนข้อมูล และกำหนดสัญญาใจพลเมืองระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองนักเรียน โครงการการประเมินศักยภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนบ้านพร่อน บ้านตาสา และบ้านจาหนัน

เมื่อวันเสาร์ ที่ 8 มีนาคม 2557 เวลา 13.00 – 16.00 น. ที่ผ่าน ทางคณะทำงานโครงการสะพานระดับพื้นที่ตำบลพร่อน โครงการการประเมินศักยภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนบ้านพร่อน บ้านตาสา และบ้านจาหนัน ได้จัดกิจกรรมเวทีคืนข้อมูล และกำหนดสัญญาใจพลเมืองระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองนักเรียน มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อประเมินศักยภาพการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนบ้านพร่อน บ้านตาสา และบ้านจาหนัน ตำบลพร่อน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการบริหารจัดการของโรงเรียนทั้งสามโรงเรียน เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับการข้อเท็จจริงจุดแข็งจุดอ่อนการศึกษาของบุตรหลาน เพื่อให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาของบุตรหลายโดยตรง และเพื่อให้ครูได้ปรับกระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงกับสภาพื้นที่ โดยมี นายดอเล๊าะอาลี สาแม พร้อมด้วย ดร.ตายูดิน อุสมาน อ.พงษ์พันธ์ ชัยเศรษฐสัมพันธ์ อ.รอซีดี เลิศอริยะพงษ์กุล ผอ.โรงเรียนบ้านพร่อน ผอ.โรงเรียนบ้านตาสา ผอ.โรงเรียนบ้านจาหนัน นายวิศิษย์ ยะโก๊ะ นายรุสดี ยูโซ๊ะ เจ้าหน้าที่โครงการ และผู้ปกครองนักเรียน

นายดอเล๊าะอาลี สาแม เป็นผู้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากการเก็บบัตรคะแนนศักยภาพชุมชนให้กับผู้ปกครองนักเรียนทราบถึงผลการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่า ผู้ปกครองมีความพึงพอใจในแต่ละด้านของโรงเรียนทั้งสามโรงเรียน จำนวน 11 ด้านด้วยกัน 1) ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อโรงเรียนบ้านพร่อนโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้านกรรมการสถานศึกษา ด้านนักเรียน ด้านความสัมพันธ์โรงเรียนกับผู้ปกครอง ด้านงบประมาณ ด้านความสัมพันธ์โรงเรียนกับชุมชน และความสัมพันธ์โรงเรียนกับอบต. ในส่วนของผู้ปกครองมีความพึงพอใจระดับมาก คือ ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านผู้บริหารสถานศึกษา ด้านสถานที่และวัสดุอุปกรณ์  และด้านการบริการของโรงเรียน  2) ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อโรงเรียนบ้านตาสาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก คือ ด้านผู้บริหารสถานศึกษา ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา  ด้านกรรมการสถานศึกษา ด้านนักเรียน ด้านความสัมพันธ์โรงเรียนกับผู้ปกครอง ด้านการบริการของโรงเรียน ส่วนผู้ปกครองมีความพึงพอใจระดับปานกลาง คือ ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านงบประมาณ ด้านความสัมพันธ์โรงเรียนกับชุมชน และความสัมพันธ์โรงเรียนกับอบต. 3) ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อโรงเรียนบ้านจาหนันโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก คือ ด้านผู้บริหารสถานศึกษา ด้านกรรมการสถานศึกษา ด้านความสัมพันธ์โรงเรียนกับผู้ปกครอง ด้านสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ ด้านการบริการของโรงเรียน ด้านความสัมพันธ์โรงเรียนกับชุมชน และความสัมพันธ์โรงเรียนกับอบต.

วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557

ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาดูงานระหว่างคณะทำงานมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลากับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

เมื่อวันที่ 3 - 5 มีนาคม 2557 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ได้จัดให้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาดูงานร่วมกัน ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ในระหว่างวันที่ 3 - 5 มีนาคม 2557 ณ โรงแรมหาดใหญ่ พาราไดซ์ โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท และศึกษาดูงานองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมี ดร.บุญสิทธ์ ไชยชนะ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วย ดร.นพรัตน์ ชัยเรือง รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช อ.ทัศนีย์ พาเจริญ หัวหน้าโครงการสะพาน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช คณะทำงาน ผู้รับทุนโครงการสะพาน เจ้าหน้าที่จากส่วนกลาง เจ้าหน้าที่ประจำโครงการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาแลมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช รวมจำนวน 48 คน                  

ดร.บุญสิทธ์ ไชยชนะ กล่าวว่า เป็นนิมิตมายอันดีเพื่อสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาแลมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน พัฒนาองค์ความรู้ และช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างมหาวิทยาลัยในอนาคต และฝากให้มหาวิทยาลัยทั้งสองแลกเปลี่ยนรู้และศึกษาดูงานอย่างมีความสุข จงประสบความสำเร็จในการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป
          

วันที่ 3 มีนาคม 2557 เวลา 09.30 - 18.30 น. การนำเสนอผลการดำเนินงานของแต่ละโครงการที่ได้รับทุนอุดหนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีดังนี้ 1) การเรียนรู้งบประมาณองค์การบริหารส่วนตำบล พร่อน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 2) ประเมินศักยภาพการเรียนการสอนโรงเรียนบ้านพร่อน โรงเรียนบ้านจาหนัน และโรงเรียนบ้านตาสา ตำบลพร่อน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 3) สร้างความเป็นพลเมืองและการป้องกันมลภาวะทางอากาศและน้ำ ชุมชนตำบลพร่อน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 4) การเรียนรู้งบประมาณเทศบาลตำบลท่าสาป 5) เยาวชนท่าสาปร่วมใจไร้ถังขยะ 6) ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาป                                                   

วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการสะพานฯ เพื่อรับทราบความก้าวหน้ากิจกรรมการดำเนินงานที่ผ่านมา ปี 3


เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 13.00 - 16.00 น. ณ ห้องประชุมสภา ชั้น 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โครงการสะพานฯ ประชุมที่ปรึกษา ประกอบด้วย ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ (อธิการบดี) นายเดชรัฐ สิมศิริ (ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา) ร.ต.ต.กริยา ตระกูลศึกษา (กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดประจำจังหวัดยะลา) นางธนสุธา  เพิ่มพูนขันติสุข (กรรมการสมาคมสมาพันธ์การท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา) นายชานนท์ สาและ ตัวแทนนายกเทศมนตรีตำบลท่าสาป นางชลธิชา ทับจิต ตัวแทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบลพร่อน และคณะทำงานโครงการสะพานมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประกอบด้วย ดร.บุญสิทธิ์ ไชยชนะ ดร.ศิริชัย นามบุรี ดร.ตายูดิน อุสมาน ผศ.สมศักดิ์ ด่านเดชา อ.อารยา ชินวรโกมล อ.ซูลฟีกอร์ มาโซ อ.พงษ์พันธ์ ชัยเศรษฐสัมพันธ์ อ.รอซีดี เลิศอริยะพงษ์กุล นายอัลดุลย์เลาะ ยูโซ๊ะ คณะทำงานระดับพื้นที่ตำบลท่าสาป ตำบลพร่อน และเจ้าหน้าที่โครงการสะพานมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
เพื่อรายงานความก้าวหน้าโครงการต่างๆ ที่ชุมชนเสนอ รวมทั้งหมด 6 โครงการใน 2 พื้นที่ ดังนี้ ตำบลท่าสาป 1) นำเสนอการเรียนรู้งบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลพร่อน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยนายดอเล๊าะอาลี สาแม หัวหน้าโครงการ 2) นำเสนอการศึกษาเรื่อง ประเมินศักยภาพการเรียนการสอนโรงเรียนบ้านพร่อนและโรงเรียนบ้านจาหนัน ตำบลพร่อน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยนางสาวปวีณา มะแซ หัวหน้าโครงการ 3) นำเสนอเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมชุมชนเรื่อง สร้างความเป็นพลเมืองและการป้องกันมลภาวะทางอากาศและน้ำชุมชนตำบลพร่อน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยนายดอเล๊าะอาลี สาแม แทนนายรุสดี ยูโซ๊ะ หัวหน้าโครงการ ในส่วนตำบลพร่อน มีดังนี้ 1) รายงานความก้าวหน้าเรื่อง การจัดการขยะในชุมชนตำบลท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยนายอัดลัน ดอเลาะ หัวหน้าโครงการ 2) นำเสนอเรื่อง ความพึงพอใจของการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยซาวียะห์ มูซา 3) เรื่องการเรียนรู้งบประมาณของเทศบาลตำบลท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยนายอายุ กาซอ

วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เวทีเสวนาและเสนอข้อมูล การเรียนรู้งบประมาณ อบต.พร่อน ณ ห้องประชุมพิมพ์มาดา โรงแรมปาร์วิวยะลา

เมื่อวันอังคาร ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่าน ทางคณะทำงานเรียนรู้งบประมาณ อบต.พร่อน ได้จัดกิจกรรมเวทีเสวนาและเสนอข้อมูล เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงบประมาณของ อบต. มากยิ่งขึ้น ณ ห้องประชุมพิมพ์มาดา โรงแรมปาร์วิวยะลา โดยมีคุณดอเล๊าะอาลี สาแม เป็นหัวหน้าโครงการ และได้รับเกียรติจาก ดร.บุญสิทธิ์ ไชยชนะ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เป็นประธานพิธีเปิดเสวนา คุณดอเล๊าะอาลี ได้สรุปผลการศึกษากระบวนการเรียนรู้งบประมาณองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่า งบประมาณประจำปีของ อบต. เป็นงบประมาณที่อยู่คงคลัง หรือ อยู่ในธนาคาร และสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ข้อบัญญัติรายจ่ายประจำของ อบต. เป็นหัวใจสำคัญของการบริหารองค์กร หรือ อบต. ถ้า อบต.ไม่มีข้อบัญญัติประจำปี อบต.ก็ไม่สามารถที่จะบริหารและนำงบประมาณที่คงคลัง ออกมาใช้จ่ายได้ เพราะ อบต. เป็นหน่วยงานราชการที่มี พรบ./กฎหมาย และระเบียบ รองรับบังคับใช้ หรือกำกับในการบริหารจัดการไม่ว่า อบต. อบจ. เทศบาล เป็นต้น                                
เมื่อเวลา 10.30 - 12.00 น. เสวนาเรื่อง การพัฒนาที่ยั่งยืน ประชาชนจะมีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้อย่างไร โดยมีวิทยากรร่วมเสวนาดังนี้ นายสมปราชญ์ จงจิต ท้องถิ่นจังหวัดยะลา นายสมเกียรติ ศรีษะเนตร นายอำเภอเมืองยะลา ดำเนินรายการโดย อ.พงษ์พันธ์ ชัยเศรษฐสัมพันธ์ โดยสรุปการพัฒนาที่ยั่งยืน คือ ทุกสิ่งทุกอย่างทำแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น เกิดประโยชน์ ความสมดุลทุกมิติ ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ปลูกทดแทน และที่สำคัญต้องมีจิตสำนึกในการดำเนินชีวิตอยู่อย่างพอเพียง 
ในภาคบ่าย เสวนาต่อเรื่อง "กระบวนการเรียนรู้งบประมาณ อบต. พร่อน" โดยมีวิทยากรดังนี้ คุณรุสดี ยูโซ๊ะ รองนายก อบต. พร่อน คุณดวงดาว สุขจิตเกษม ปลัด อบต. พร่อน ดำเนินการโดย อ.รอซีดี เลิศอริยะพงษ์กุล ได้สรุปว่า กระบวนการเรียนรู้หรือการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญปัจจุบัน พ.ศ.2550 มาตรา 285 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน อปท. ใดเห็นว่าสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือ ผู้บริหารท้องถิ่นใดของ อปท.นั้นไม่สมควรดำรงตำแหน่งต่อไป ให้สิทธิลงคะแนนเสียงถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือ ผู้บริหารท้องถิ่นผู้นั้นพ้นจากตำแหน่ง ทั้งนี้ จำนวนผู้มีสิทธิเข้าชื่อหลักเกณฑ์และวิธีการเข้าชื่อ การตรวจสอบรายชื่อ การลงคะแนนเสียงให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ 
การมีส่วนร่วมของประชาชน มีส่วนร่วมได้ดังนี้ 1) การเข้ามามีส่วนร่วมโดยตรง คือ เข้าไปเป็นตัวแทน เสียสละตนเองเพื่อสังคม 2) สรรหาคนดี ส่งเสริม สนับสนุน ให้โอกาสคนดีเข้ามาบริหารองค์กร 3) ใช้สิทธิเลือกตั้ง ทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด 4) เสียภาษีต่างๆ เมื่อครบกำหนด เพื่อพัฒนาองค์กร และกลับสู่ชุมชน

ข้อเสนอแนะจากเวที มีดังนี้ 1) ควรให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนเกี่ยวกับการจัดเวทีประชาคม เข้ามามีส่วนร่วมแล้วประชาชนจะได้อะไร และถ้าไม่เข้าร่วมจะเสียผลประโยชน์อย่างไร 2) ประชาชนควรมีบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบร่วมกัน การแก้ไขปัญหา และหาแนวทาง เพื่อให้ชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข (ดูภาพกิจกรรมเพิ่มเติม)    
    
ภาพกิจกรรมปิดเสวนา

วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เวทีคืนข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมตำบลพร่อน อ.เมือง จ.ยะลา

เวทีคืนข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมตำบลพร่อน
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 13.30 - 16.00 น. ที่ผ่านมา ทางคณะทำงานโครงการสะพานระดับพื้นที่ตำบลพร่อน ได้จัดเวทีคืนข้อมูลโครงการสร้างความเป็นพลเมืองและการป้องกันมลภาวะทางอากาศและน้ำชุมชนตำบลพร่อน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ณ ห้องประชุมโรงเรียนบ้านพร่อน โดยมีคุณรุสดี ยูโซ๊ะ หัวหน้าโครงการ วิทยากรดำเนินรายการ คุณดอเล๊าะอาลี สาแม ทางคณะทำงานโครงการสะพานมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมี ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศร่วมสังเกตการณ์และให้ข้อเสนอแนะในเวทีครั้งนี้ด้วย และวิทยากรนำเสนอข้อมูลร่วม อาจารย์รอซีดี เลิศอริยะพงษ์กุล ได้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากการเก็บแบบสอบถามจากประชาชนในพื้นที่ตำบลพร่อน เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น โดยมีสาเหตุ ดังนี้ 1) โรงงานอุตสาหกรรมภายในชุมชน 2) การใช้สารเคมีของประชาชนในการทำการเกษตร 3) อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ท่อไอเสียจากรถยนต์ การเผาขยะ ฝุ่น น้ำเสีย กลิ่นเหม็น ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ปัญหาได้แต่จะต้องใช้เวลา และสร้างจิตสำนึกในการดำเนินชีวิตของประชาชน ในอดีตเมื่อ 20 ปีที่แล้วนั้นประชาชนอยู่ดีกินดี สุขภาพดี แต่หลังจากมีโรงงานอุตสาหกรรมภายในชุมชน ทำให้ประชาชนมีสุขภาพร่างกายที่แย่ลง เกิดจากปัญหาน้ำเสีย ขยะ อากาศ ฝุ่น เป็นต้น โรงงานจะย้ายไปอยู่ที่อื่นก็คงยาก ประชาชนจะย้ายไปก็ไม่ได้เพราะเป็นบ้านเกิดของตนเอง สิ่งที่สำคัญจะทำอย่างไรให้โรงงานกับประชาชนสามารถอยู่ร่วมกันได้ จะต้องสร้างเข้าใจร่วมกัน
                จากเวทีประชาชนมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) การขาดแคลนน้ำในการทำนา 2) น้ำเป็นพิษ 3) เด็กวัยรุ่นในชุมชนติดยาเสพติด และนำไปสู่ลักเล็กขโมยน้อย 4) ก่อนไม่มีโรงงานประชาชนไม่มีปัญหา 5) จะทำอย่างไรให้ประชาชนอยู่คู่ขนานกับโรงงานได้ 6) หลังจากนี้ประชาชนและองค์กรที่เกี่ยวข้องที่อยู่ภายในชุมชนจะร่วมหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง

วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เวทีสัญญาใจพลเมือง เยาวชนท่าสาปร่วมใจไร้ถังขยะ


เวทีสัญญาใจพลเมืองโครงการเยาวชนท่าสาปร่วมใจไร้ถังขยะ จัดประชุมเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมโรงเรียนบ้านท่าสาป จัดโดยสภาเด็กและเยาวชนเทศบาลตำบลท่าสาป โดยมี นายอัดลัน ดอเลาะ หัวหน้าโครงการ ได้อธิบายถึงที่มาของโครงการและสืบเนื่องนโยบายของนายมะสดี  หะยีปิ นายกเทศบาลตำบลท่าสาป ปี 2555 ซึ่งผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ดร.บุญสิทธิ์ไชยชนะ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ดร.ตายูดิน อุสมาน ร.ต.ต.กริยา ตระกูลศึกษา อ.พงษ์พันธ์ ชัยเศรษฐสัมพันธ์ นายชานนท์  สาและ ปลัดเทศบาลตำบลท่าสาป เจ้าหน้าที่โครงการสะพานมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผู้ปกครอง และนักเรียน    
นายอัดลัน ดอเลาะ นำเสนอกิจกรรมที่ได้ดำเนินการโครงการที่ผ่านมา และเสนอรูปแบบการจัดการแบบไร้ถังขยะ ทางคณะทำงานคิดและวางแผนร่วมกัน ซึ่งได้รูปแบบดังนี้ 1) ครัวเรือน คือ ควรมีจิตสำนึก มีการคัดแยกขยะภายในครัวเรือน และ นักเรียนนำขยะมาฝาก 2) ธนาคารตั้งอยู่ที่โรงเรียน จะรับฝากขยะทุกวันจันทร์ ก่อนเวลา 08.00 น. และมีผู้จัดการธนาคารขยะ 3) การจัดการขยะนำไปใช้ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และนำไปขาย 4) รายได้ จัดตั้งเป็นกองทุน เพื่อการศึกษา เพื่อส่งเสริมอาชีพ และเพื่อเด็กและคนยากจนภายในชุมชน สุดท้ายกลับไปสู่ครัวเรือน

วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พบปะพูดคุยเกี่ยวกับโครงการสะพานมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลากับคณะทำงานโครงการสะพานจากส่วนกลาง

เมื่อวันพุธ ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09.00 -12.00 น. ที่ผ่านมา ทางโครงการสะพานมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมี ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดี เป็นประธานที่ประชุมได้พบปะพูดคุยกับคุณเดวิด คุณมาเรียล และคุณเอ๋ ซึ่งเป็นคณะทำงานโครงการสะพานจากส่วนกลาง พูดคุยเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมา และมี ดร.บุญสิทธิ์ ไชยชนะ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ดร.ตายูดิน อุสมาน อ.อารยา ชินวรโกมล เจ้าหน้าที่โครงการสะพานมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ห้องประชุม 2 ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษามหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา
ประเด็นสำคัญคือ ทางโครงการสะพานสงขลาต้องการให้ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาดำเนินกิจกรรมในส่วนของ PGI ต่อ ทาง ดร.บุญสิทธิ์ ไชยชนะ ได้กล่าวถึงกิจกรรม PGI ในปีนี้ว่า จากที่ได้มีการพูดคุยกันในเบื้องต้นคือจะใช้เครื่องมือที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นผู้ออกแบบ สร้างเครื่องมือ และนำเครื่องมือที่ได้ มารณรงค์ในพื้นที่ เครื่องมือนี้ทำเสร็จแล้วจะมีกระบวนการ การนำไปใช้อย่างไร และประเด็นนี้ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะชี้แจงการใช้เครื่องมือ วันที่ 11-12 มีนาคม 2557 จึงนำเสนอกิจกรรมในรูปแบบของการสำรวจ (survey) ต่อไป  
คุณมาเรียล ได้เสนอกิจกรรมของ PGI จะมีกิจกรรมอยู่ 2 กิจกรรม ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา สามารถดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ได้โดยไม่ต้องรอทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา สามารถออกแบบกิจกรรมได้เอง ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ อาจนำเครื่องมือของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่

วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บรรยากาศการสนทนากลุ่ม (Focus group) ท่าสาป

   เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09.00 - 12.00น. ที่ผ่านมา โดยมีคุณอายุ กาซอ หัวหน้าโครงการ พร้อมด้วยผู้ดำเนินการสนทนากลุ่มคือ คุณดานียา เจ๊ะสนิ รองหัวหน้าโครงการ เพื่อซักถามประเด็นข้อคำถามที่กำหนด โดยมีคุณมะสดี หะยีปิ นายกเทศมนตรีตำบลท่าสาปให้เกียรติเป็นประธานที่ประชุม และมีหัวหน้าสำนักปลัด หัวหน้าฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณ ดร.ตายูดิน อุสมาน คณะทำงานโครงการสะพานมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เจ้าหน้าที่โครงการ ทางนายกพร้อมให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นการเรียนรู้งบประมาณทุกประเด็นคำถาม และมอบให้หัวหน้างานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณมาชี้แจงและตอบข้อคำถาม นายกมองประเด็นที่โครงการตั้งคำถามเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประชาชนและเข้าใจการบริหารจัดการของเทศบาลมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีประเด็นคำถาม ดังนี้

1. ที่มาของรายได้งบประมาณ ?
    ตอบ แหล่งที่มาคือ มาจากภาษีอากร ค่าปรับ เงินอุดหนุนจากรัฐบาล ค่าธรรมเนียม และรายได้ต่างๆ
2. ขั้นตอนในการทำงบประมาณประจำปี ?
    ตอบ 1) ดูจากโครงการในแผน 3 ปี 2) ร่วมประมาณการรายรับ - รายจ่าย 3) เสนอเจ้าหน้าที่งบประมาณเพื่อทำการวิเคราะห์ 4) เสนอนายกเทศมนตรีเพื่ออนุมัติ 5) เสนอเจ้าหน้าที่รวบรวมอีกครั้ง 6) สามารถดำเนินการระหว่าง 1 ตุลาคม - กันยายน ในปีถัดไป และ 7) รายงานให้ผู้ว่าทราบ.............

๓. มีไหมที่ผู้ว่าไม่เห็นด้วยกับแผนที่เสนอ ?
ตอบ ส่วนใหญ่แล้วเห็นด้วยตามที่เสนอ แต่ถ้ามีจะมีในส่วนความขัดแย้งภายในองค์กร

4. รายจ่ายเฉพาะการ ?
ตอบ งบประมาณจัดสรรโดยเฉพาะ เช่น นม อาหารนักเรียน และเบี้ยงเลี้ยงผู้สูงอายุ เป็นต้น

5. อะไรคือรายจ่ายเพื่อการลงทุน ?
ตอบ ครุภัฑณ์ (คอมพิวเตอร์) ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง อาคาร และถนน

๖. เงินนอกงบประมาณ ?
ตอบ เงินที่ได้มาไม่ได้อยู่ในแผนงบประมาณ จะเข้ามาทางบัญชี โดยได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล

7. งบประมาณโอนได้หรือไหม ?
ตอบ โอนงบประมาณได้ทั้งหมด แต่ต้องไม่กระทบต่องบประมาณอื่นๆ

8. กรณีช่วงเตรียมแผน แต่ตำแหน่งใกล้หมดวาระ ปฏิบัติแทนได้หรือไหม ?
ตอบ ปฏิบัติหน้าที่แทนได้เท่าที่จำเป็น แต่ถ้าไม่ปฏิบัติแทนซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่อองค์ก็ สามารถทำได้เลย

๙. ก่อนจัดทำแผนงบประมาณ รู้ได้อย่างไรว่าจะใช้งบประมาณเท่าใด ?
ตอบ โดยใช้เกณฑ์งบประมาณปีที่ผ่านมาเป็นหลักในการประมาณการ

๑๐. งบเฉพาะกิจ มีแหล่งทุนจากต่างประเทศ รับได้หรือไม่ ?
ตอบ รับได้ ส่วนใหญ่เป็นรัฐบาลอุดหนุน ถ้ามีแหล่งอื่นต้องพิจารณาจากสภาก่อน ซึ่งมีเงื่อนไขต่างๆ มากมาย

๑๑. แผนการดำเนินงานบังคับใช้เดือนไหน ?
ตอบ เดือนตุลาคมของทุกปี/ปีงบประมาณใหม่
๑๒. เทศบัญญัติ สามารถแก้ไขได้หรือไหม ?
ตอบ สามารถแก้ไขได้ โอนได้ มีความยืดหยุนส่วนใหญ่จะเป็นเงินเดือน

๑๓. กันเงินคือ ?
ตอบ มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงิน เช่น นำเงินของปีนี้ใช้ในปีหน้า

๑๔. แบบฎีกาคือ ?
ตอบ ฟอร์มกรอบรายละเอียดเกี่ยวกับการจ่ายเงินขององค์กร

๑๕. เทศบัญญัติมีความสำคัญอย่างไรต่อเทศบาลและประชาชน ?
ตอบ เทศบัญญัติมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารจัดการองค์กร เป็นเงินที่มาใช้จ่ายในการพัฒนาองค์กร และชุมชน


๑๖. ปัญหาอุปสรรคของเทศบัญญัติ ?
 ตอบ ๑. โครงการและกิจกรรมมาก ๒. งบประมาณมีจำนวนจำกัด ๓. ประชาชนมีความเข้าใจว่าเทศบาลมีงบประมาณมาก ๔. รายจ่ายของเทศบาลมีรายจ่ายประจำปีที่สูง ๕. การพัฒนาองค์กรต้องใช้งบประมาณเป็นสำคัญ ๖. โครงการต่างๆ ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ทั้งหมด


ทางนายกเทศมนตรีให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมรับทราบงบประมาณของหน่วยงาน ซึ่งเป็นการอยากที่จะเข้าไปศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณ เนื่องด้วยหลายหน่วยงานไม่พร้อมที่จะให้ข้อมูล เป็นการยืนยันได้เลยว่าการบริหารจัดการของเทศบาลตำบลท่าสาป มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีผู้บริหารที่ดี เก่ง วิสัยทัศน์กว้างไกล นำการพัฒนาสู่ชุมชนอย่างแท้จริง



วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กิจกรรมรายงานความก้าวหน้าและปรับแผนการขับเคลื่อนโครงการสะพานฯ ระดับพื้นที่ ต.พร่อน อ.เมือง จ.ยะลา


วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมากรรมการประสานงาน คุณดอเล๊าะอาลี สาแม และคณะทำงานในพื้นที่ ต.พร่อน อ.เมือง จ. ยะลา ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานโครงการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในพื้นที่ของ USAID ผ่านโครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย ปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมจัดประชุมติดตามความก้าวหน้าและปรับแผนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและทันต่อเวลา โดยจัดประชุม ณ ห้องประชุมร้านยัสมีน อ.เมือง จ.ยะลา 

      ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ มีสมาชิกดำเนินงานในโครงการ ที่ปรึกษาการดำเนินงานในพื้นที่ คณะกรรมการดำเนินงานเข้าร่วมกิจกรรม พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินกิจกรรมในระยะต่อไป ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นคณะกรรมการประสานงานโครงการสะพานฯ  อาจารย์พงษ์พันธ์ ชัยเศรษฐสัมพันธ์  คณะทำงานในพื้นที่  ร.ต.ต.กริยา ตระกูลศึกษา ที่ปรึกษาคณะทำงาน พร้อมนางศศิตา สุขขี ผู้จัดการโครงการ นางสาวพารีซัน หะ เจ้าหน้าที่การเงิน  โดยมีโครงการในพื้นที่ ต.พร่อน อ.เมือง จ.ยะลา นำเสนอความก้าวหน้าของโครงการ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้

วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

กิจกรรมสนทนากลุ่ม (focus group) การจัดการขยะของเยาวชนท่าสาป

วันจันทร์ ที่ 27 มกราคม 2557 ที่ผ่านมา ทางคณะทำงานโครงการสะพานระดับพื้นที่ตำบลท่าสาป โครงการ เยาวชนท่าสาปร่วมใจไร้ถังขยะโดยมี นายอัดลัน ดอเลาะ หัวหน้าโครงการ และคณะ ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย นายชานนท์ สาและ ปลัดเทศบาลตำบลท่าสาป ดร.ตายูดิน อุสมาน คณะทำงานโครงการสะพานมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เจ้าหน้าที่โครงการ ผู้นำท้องที่ ผอ.รพ.สต. ครู และเยาวชน รวม 20 ท่าน
หัวหน้าโครงการได้เสนอรูปแบบการจัดการขยะไร้ถังขยะ และสืบเนื่องจากนโยบายผู้บริหารเทศบาลตำบลท่าสาป ปี 2555 ด้วย เพราะจริงๆ แล้วขยะเป็นสิ่งที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้เกือบทั้งหมด ขยะแบ่งเป็นหลายประเภท ดังนี้ 1) ขยะย่อยสลาย 2) ขยะริไซเคิล 3) ขยะทั่วไป 4) ขยะอันตราย  http://www.environnet.in.th/?p=3511 สำหรับรูปแบบการจัดการขยะของเยาวชนท่าสาป มีขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอน 1 เริ่มจากครอบครัวเป็นสำคัญ สร้างจิตสำนึก คัดแยกขยะ และให้นักเรียนนำขยะที่ได้จากคัดแยกมาฝากที่ธนาคารขยะ ขั้นตอน 2 มีธนาคารขยะที่โรงเรียนรับฝากทุกวันจันทร์ ก่อนเวลา 08.00 น. ขั้นตอน 3 การจัดการขยะ โดยนำขยะที่มีมูลค่าขายให้กับโรงงานรับซื้อของเก่า ขั้นตอนสุดท้าย รายได้ที่ได้จากการขายขยะจะเป็นทุนการศึกษา ทุนผู้สูงอายุ และพัฒนาหมู่บ้าน เป็นต้น
ที่ประชุมมีข้อเสนอแนะดังนี้ 1) เป็นงานที่ใหญ่ ท้าทาย ขอให้มีความอดทน และต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน 2) รณรงค์ ปลูกฝัง สร้างจิตสำนึกจากครอบครัวเป็นลำดับแรก 3) คิดสิ่งประดิษฐ์แปลกๆ ใหม่ๆ เพื่อนำไปสู่การตลาด และเพิ่มรายได้ 4) ประกวดบ้านสะอาด มอบเกียรติบัตรเป็นที่ยกย่อง (ภาพกิจกรรมเพิ่มเติม)      

    

วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

เจ้าหน้าที่โครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตยพบปะพูดคุย

เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557 ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่โครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตยพบปะพูดคุย และเยี่ยมสำนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา  ห้องประชุม 2 ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ (อาคาร 20) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พร้อมด้วย ดร.ศิริชัยนามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และดร.ตายูดิน อุสมาน ได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนประเด็นการบริหารจัดการโครงการกับเจ้าหน้าที่โครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย โดยมี คุณจอน (Mr. john Go) ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการและเจ้าหน้าที่โครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย เข้าร่วมในครั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเสนอแนะต่อโครงการสะพานจากส่วนกลาง มีดังนี้ 1) อยากให้เกิดองค์ความรู้ภายในชุมชน 2) กระบวนการทำงานโครงการที่ไม่ซับซ้อน 3) ความต่อเนื่อง มีระบบ และยั่งยืน 4) เป้าหมายชัดเจน 5) ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างยุทธศาสตร์ร่วมกัน 6) เป็นชุมชนต้นแบบ และสามารถเข้ามาศึกษาดูงานได้ 7) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาพร้อมที่ให้ความร่วมมือกับโครงการสะพานในทุกๆ ด้า... (รายละเอียดเพิ่มเติมและภาพประกอบ)      

วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557

สร้างความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของงบประมาณเทศบาลตำบลท่าสาป

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2557 ที่ผ่านมา ทางคณะทำงานโครงการสะพานระดับพื้นที่ตำบลท่าสาป จัดประชุมชี้แจงและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการสะพานที่จะดำเนินการ การเรียนรู้งบประมาณเทศบาลตำบลท่าสาป โดยมี นายอายุ กาซอ หัวหน้าโครงการ และคณะทำงาน อธิบายในประเด็นที่จะศึกษากับผู้บริหาร และขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทางนายกเทศมนตรีตำบลท่าสาป อธิบายข้อมูลเบื้องต้นว่า ที่มาของเทศบัญญัติ ประการแรกคือ กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาสามปี โดยผ่านประชาคมกับประชาชน ประการที่สอง คณะกรรมการพิจารณาแผนเพื่อสนับสนุน ประการที่สาม ผ่านสภาเพื่อลงมติที่ประชุม สำหรับงบประมาณต่างๆ ของเทศบาลตำบลท่าสาปได้จากงบสนับสนุน งบเฉพาะกิจ งบอุดหนุน ภาษีต่างๆ รายได้ สำหรับงบอุดหนุนเฉพาะกิจสามารถดำเนินการได้เลย และการเสนอโครงการต่างๆ ต้องส่งโครงการก่อนเดือน มิถุนายน ของทุกปี
สรุปประเด็นที่ประชุม มีดังนี้ 1) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 2) ประชาชนทราบถึงข้อจำกัดในการดำเนินโครงการต่างๆ สาเหตุอะไรที่ไม่สามารถดำเนินโครงการ 3) สร้างความเข้าใจระหว่างเทศบาลกับประชาชน 4) ผู้บริหารที่ดี มีความสามารถ เก่ง มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีเครือข่าย และสามารถบริหารจัดการองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด โครงการสะพานระดับพื้นที่จะขอสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ดังนี้ 1) นายกเทศมนตรี 2) รองนายกเทศมนตรี 3) หัวหน้าสำนักปลัด 4) หัวหน้ากองคลัง 5) หัวหน้าการศึกษา 6) หัวหน้าการช่าง 7) เจ้าหน้าที่งบประมาณ 8) เจ้าหน้าที่วิเคราะห์แผนและนโยบาย ข้อมูลที่ได้มาทางโครงการจะเสนอข้อมูลให้เป็นกลางมากที่สุด ไม่เกิดผลกระทบต่อหน่วยงาน และจะเกิดประโยชน์ต่อเทศบาลตำบลท่าสาปต่อไป (ดูภาพกิจกรรมเพิ่มเติม)

วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

สร้างความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของงบประมาณ อบต.พร่อน

 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2557 ที่ผ่านมา คณะทำงานโครงการสะพานระดับพื้นที่ตำบลพร่อน จัดประชุมสร้างความเข้าใจในวัตถุประสงค์กับผู้บริหาร สมาชิก และเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้อธิบายเกี่ยวกับโครงการการเรียนรู้งบประมาณองค์การบริหารส่วนตำบลพร่อน โดยมี นาย รุสดี  ยูโซ๊ะ เป็นหัวหน้าโครงการการเรียนรู้งบประมาณฯประเด็นที่ศึกษา มีดังนี้ 1) ศึกษาเรียนรู้กฎระเบียบของ อบต. 2) ศึกษาเรียนรู้ที่มาที่ไป รายรับ - รายจ่าย 3) ศึกษากระบวนการจัดทำแผนข้อบัญญัติประจำปี 4) ศึกษาผลสัมฤทธิ์กิจกรรมตามพัฒนารอบปี และ 5) รายงานผลการเรียนรู้ต่อสาธารณะเพื่อทราบข้อมูลข้อเท็จจริง

ที่ประชุมให้ข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) โครงการสะพานระดับพื้นที่กับองค์การบริหารส่วนตำบลเดินคู่ขนานกัน 2) เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ประชาชนร่วมมือแก้ไขปัญหาต่างๆ ภายในชุมชน 3) การเสนอข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ โครงการสะพานควรเสนอข้อมูลที่เป็นกลาง ไม่สร้างข้อมูลที่เป็นลบกับหน่วยงาน (ดูภาพเพิ่มเติม)   

วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

รายงานความก้าวหน้าโครงการสะพานระดับพื้นที่ตำบลท่าสาปและตำบลพร่อน

โดยมีโครงการจาก 2 พื้นที่ ดังนี้ ตำบลท่าสาป  1) โครงการเยาวชนท่าสาปร่วมใจไร้ถังขยะ การขับเคลื่อนโครงการได้ดำเนินการจัดเวทีประชุมชี้แจงกิจกรรมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนรับทราบ เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะของชุมชน ขั้นตอนต่อไปศึกษาข้อมูลการจัดการขยะของเทศบาลตำบลท่าสาป ตลอดจนนำสู่การจัดรูปแบบการจัดการขยะแบบไร้ถังขยะ.....

วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557

เวทีประชุมสะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อมตำบลพร่อน

บรรยกาศเวทีสะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อม
เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2557 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนบ้านพร่อน คณะทำงานโครงการสะพานระดับพื้นที่ตำบลพร่อน โดยมี นายดอเล๊าะอาลี  สาแม ประธานคณะทำงานโครงการสะพานระดับพื้นที่ ได้มีการจัดเวทีสะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน โดยมี ประชาชน อบต. รพ.สต. ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องที่ ตัวแทนจากสิ่งแวดล้อมจังหวัดยะลา และคณะทำงานโครงการสะพานมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาร่วมสังเกตการณ์ 

ประเด็นปัญหาของประชาชนของตำบลพร่อน คือ ปัญหาน้ำ  ฝุ่น ขยะ  กลิ่นเหม็น เสียง และอากาศ 
ทุกปัญหาต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  

ที่ประชุมมีมติให้ความเห็นชอบในการแก้ปัญหา โดยมีข้อเสนอแนะดังนี้ 1) โรงงานในพื้นที่ควรตรวจสอบทำความสะอาดเครื่องยนต์อย่างต่อเนื่อง และทำการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำ 2) ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเก็บตัวอย่างน้ำที่เกิดปัญหา 3) ให้ผู้ป่วยตรวจโรคว่าเกิดจากสารชนิดใด เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้อง 4) ทำข้อตกลงกับโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ และร่างข้อบัญญัติบังคับใช้กับโรงงานอุตสาหกรรม 5) หามาตรการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง (ภาพประกอบเพิ่มเติม)    

วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2557

สร้างความเข้าใจกับผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่

ประชุมสร้างความเข้าใจในวัตถุประสงค์กับผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ตำบลพร่อนและผู้แทนอุตสาหกรรมจังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2557 ณ ห้องประชุม อบต.พร่อน ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย คณะทำงานโครงการสะพานระดับพื้นที่ตำบลพร่อน คณะทำงานโครงการสะพานมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อุตสาหกรรมจังหวัดยะลา บริษัท เอเซียพลายวู้ด จำกัด  บริษัท ยางไทยปักษ์ใต้ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมจังหวัดยะลา บริษัท กัลฟ์ ยะลา กรีน จำกัด และผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพร่อน
ประเด็นเพื่อพิจารณาแก้ปัญหาร่วมกัน
ประเด็นที่ 1 ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มาจากโรงงานอุตสาหกรรมในชุมชน ทำให้เกิดปัญหากับประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงโรงงานอุตสาหกรรม เช่น มลภาวะทางเสียง อากาศ น้ำ และโรคต่างๆ นำไปสู่ผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในชุมชน
ประเด็นที่ 2 แนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐ บริษัทที่อยู่ในชุมชน และประชาชน เพื่อให้โรงงานอุตสาหกรรมกับประชาชนสามารถอยู่ร่วมกันได้ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ประเด็นที่ 3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมรับการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
ข้อเสนอแนะ
อาจารย์รอซีดี  เลิศอริยะพงษ์กุล ให้ข้อเสนอแนะว่า ควรจัดทำแผนที่ทางเดินน้ำ เส้นทางน้ำที่ผ่านมีโรงงานอะไรบ้าง และมีพื้นที่ทำนาที่ไหนบ้าง แต่ละโรงงานมีการบำบัดน้ำเสียอย่างไร และปล่อยน้ำงทางไหน มีการเก็บตัวอย่างน้ำหรือไหมอย่างไร เพื่อมาวิเคราะห์และดำเนินการแก้ปัญหาต่อไป
อาจารย์พงษ์พันธ์  ชัยเศษรฐสัมพันธ์ ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า เวทีคืนข้อมูลเป็นเวที่สำคัญ ต้องเป็นข้อมูลที่เป็นจริง และเป็นกลาง สามารถสร้างความเข้าใจกับประชาชนได้เป็นอย่างดี (ภาพเพิ่มเติม)

วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557


เมื่อวันที่ 17 - 18 ธ.ค. 56 ที่ผ่านมา ทางโครงการสะพานฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ปี 3 ได้จัดอบรมเครื่องมือธรรมาภิบาล ณ ห้องกระยาทิพย์ โรงแรมปาร์ควิวยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ หัวหน้าโครงการ ดร.บุญสิทธิ์ ไชยชนะ รองหัวหน้าโครงการ ดร.ตายูดิน อุสมาน อ.พงษ์พันธ์ ชัยเศรษฐสัมพันธ์ อ.รอซีดี เลิศอริยะพงษ์กุล คุณกริยา ตระกูลศึกษา คุณกัญญา จันทร์พิศาล (พัฒนาการอำเภอเมืองยะลา) และเจ้าหน้าที่โครงการฯ ซึ่งผู้เข้าร่วมอบรมเป็นคณะทำงานระดับพื้นที่ตำบลท่าสาปและตำบลพร่อนที่เสนอโครงการต่อโครงการสะพานมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จำนวนผู้เข้าร่วม 30 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณะทำงานระดับพื้นที่สามารถนำเครื่องมือไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่และสามารถเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนโครงการต่อไป
วันแรกการบรรยายเชิงวิชาการ
เจ้าหน้าที่พัฒนาโครงการสะพานจากส่วนกลาง (สงขลา) ให้ข้อมูลเบื้องต้นและภาพรวมของการใช้เครื่องมือ และการใช้เครื่องมือตรวจสอบสังคม โดย คุณสุจินตนา เหมตะศิลป เจ้าหน้าที่พัฒนาโครงการ วิทยากรท่านที่ 2 คือ คุณสุภาภรณ์ ครุฑเมือง เจ้าหน้าที่โครงการสะพาน นำเสนอเรื่องการติดตามงบประมาณและการอ่านงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล การทำแผนงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อเป็นแนวทาง วิธิการ และขั้นตอนต่างๆ ที่จะขับเคลื่อนโครงการ ซึ่งต้องเรียนรู้เชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติควบคู่กันไป ในส่วนการเรียนรู้งบประมาณ เจ้าหน้าที่พัฒนาโครงการเสนอแนะให้เรียนรู้งบประมาณ ปี 57 เช่น โครงการขององค์การบริหารส่วนตำบลดำเนินการอย่างไร การใช้งบประมาณเป็นไปตามแผนยุทธศาตร์หรือไม่ ซึ่งเป็นการเรียนรู้งบประมาณไม่ได้ไปจับผิดการบริหารจัดขององค์การบริหารส่วนตำบล ฯลฯ

วันที่สองเป็นการเล่าถึงประสบการณ์การนำเครื่องมือที่ประสบความสำเร็จ
          ภาคเช้า เล่าถึงประสบการณ์การนำเครื่องมือบัตรคะแนนศักยภาพชุมชน (Scorecard) ไปใช้ในพื้นที่ โดยคุณกริยา ตระกูลศึกษา และคุณพงษ์พันธ์ ชัยเศรษฐสัมพันธ์ ซึ่งมีตัวอย่างดังนี้
          1. ประสบการณ์นอกพื้นที่ (จ.สุโขทัย) : 2554 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ท่าชัย อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
          2. ประสบการณ์ในพื้นที่ (จ.ยะลา) : 2554 โรงเรียนเทศบาล 5 ตลาดเก่า เทศบาลนครยะลา
โรงเรียนบ้านตาสา ต.พร่อน อ.เมือง ยะลา โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ อ.รามัน อ.เมือง ยะลา
          3. ประสบการณ์ในพื้นที่ (จชต.) : 2555 โรงเรียนดำรงวิทยา อ.บันนังสตา จ.ยะลา โรงเรียนเมาะมาวี อ.ยะรัง ปัตตานี และโรงเรียนบ้านปะลุรู หมู่ 3 ปะลูรู อ.สุไหงปาดีนราธิวาส
     การเล่าถึงประสบการณ์ที่ผ่านนี้ให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้เห็นภาพตัวอย่างการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการอบรมขับเคลื่อนโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่อไป
          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้มาพบปะพูดคุยกับคณะทำงานระดับพื้นที่ และให้กำลังใจในการดำเนินโครงการได้อย่างราบรื่น ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาพร้อมให้ความร่วมมือทางวิชาการกับพื้นที่ตำบลท่าสาปและตำบลพร่อน เพื่อการยกระดับการศึกษา การพัฒนาศักยภาพชุมชน และการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้น
                ในส่วนภาคบ่าย ชี้แจงงบประมาณและระเบียบการเงิน โดย นางสาวพารีซัน หะ เจ้าหน้าที่การเงินโครงการสะพานมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ทำสัญญาโครงการรับเหมาช่วงเงินดำเนินกิจกรรม และมอบเงินโครงการให้กับผู้รับเหมาช่วงเพื่อการดำเนินงานโครงการต่อไป (ดูภาพกิจกรรมเพิ่มเติม)