เมื่อวันอังคาร
ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่าน ทางคณะทำงานเรียนรู้งบประมาณ อบต.พร่อน
ได้จัดกิจกรรมเวทีเสวนาและเสนอข้อมูล
เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงบประมาณของ อบต. มากยิ่งขึ้น ณ
ห้องประชุมพิมพ์มาดา โรงแรมปาร์วิวยะลา โดยมีคุณดอเล๊าะอาลี สาแม
เป็นหัวหน้าโครงการ และได้รับเกียรติจาก ดร.บุญสิทธิ์ ไชยชนะ
รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เป็นประธานพิธีเปิดเสวนา คุณดอเล๊าะอาลี
ได้สรุปผลการศึกษากระบวนการเรียนรู้งบประมาณองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่า งบประมาณประจำปีของ
อบต. เป็นงบประมาณที่อยู่คงคลัง หรือ อยู่ในธนาคาร และสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ
ข้อบัญญัติรายจ่ายประจำของ อบต. เป็นหัวใจสำคัญของการบริหารองค์กร หรือ อบต. ถ้า
อบต.ไม่มีข้อบัญญัติประจำปี อบต.ก็ไม่สามารถที่จะบริหารและนำงบประมาณที่คงคลัง ออกมาใช้จ่ายได้
เพราะ อบต. เป็นหน่วยงานราชการที่มี พรบ./กฎหมาย และระเบียบ รองรับบังคับใช้
หรือกำกับในการบริหารจัดการไม่ว่า อบต. อบจ. เทศบาล เป็นต้น
เมื่อเวลา 10.30 - 12.00 น. เสวนาเรื่อง “การพัฒนาที่ยั่งยืน ประชาชนจะมีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้อย่างไร” โดยมีวิทยากรร่วมเสวนาดังนี้ นายสมปราชญ์ จงจิต ท้องถิ่นจังหวัดยะลา นายสมเกียรติ ศรีษะเนตร นายอำเภอเมืองยะลา ดำเนินรายการโดย อ.พงษ์พันธ์ ชัยเศรษฐสัมพันธ์ โดยสรุปการพัฒนาที่ยั่งยืน คือ ทุกสิ่งทุกอย่างทำแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น เกิดประโยชน์ ความสมดุลทุกมิติ ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ปลูกทดแทน และที่สำคัญต้องมีจิตสำนึกในการดำเนินชีวิตอยู่อย่างพอเพียง
เมื่อเวลา 10.30 - 12.00 น. เสวนาเรื่อง “การพัฒนาที่ยั่งยืน ประชาชนจะมีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้อย่างไร” โดยมีวิทยากรร่วมเสวนาดังนี้ นายสมปราชญ์ จงจิต ท้องถิ่นจังหวัดยะลา นายสมเกียรติ ศรีษะเนตร นายอำเภอเมืองยะลา ดำเนินรายการโดย อ.พงษ์พันธ์ ชัยเศรษฐสัมพันธ์ โดยสรุปการพัฒนาที่ยั่งยืน คือ ทุกสิ่งทุกอย่างทำแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น เกิดประโยชน์ ความสมดุลทุกมิติ ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ปลูกทดแทน และที่สำคัญต้องมีจิตสำนึกในการดำเนินชีวิตอยู่อย่างพอเพียง
การมีส่วนร่วมของประชาชน มีส่วนร่วมได้ดังนี้ 1) การเข้ามามีส่วนร่วมโดยตรง คือ เข้าไปเป็นตัวแทน เสียสละตนเองเพื่อสังคม 2) สรรหาคนดี ส่งเสริม สนับสนุน ให้โอกาสคนดีเข้ามาบริหารองค์กร 3) ใช้สิทธิเลือกตั้ง ทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด 4) เสียภาษีต่างๆ เมื่อครบกำหนด เพื่อพัฒนาองค์กร และกลับสู่ชุมชน
ข้อเสนอแนะจากเวที
มีดังนี้ 1) ควรให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนเกี่ยวกับการจัดเวทีประชาคม
เข้ามามีส่วนร่วมแล้วประชาชนจะได้อะไร และถ้าไม่เข้าร่วมจะเสียผลประโยชน์อย่างไร
2) ประชาชนควรมีบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบร่วมกัน การแก้ไขปัญหา และหาแนวทาง
เพื่อให้ชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข (ดูภาพกิจกรรมเพิ่มเติม)
ภาพกิจกรรมปิดเสวนา |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น