วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

ประชุมคณะทำงานโครงการสะพานมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และร่วมแสดงความยินกับอธิการบดี

เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2556 เวลา 09.00 - 11.00 น. คณะทำงานโครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ปีที่ 3 นำโดย ดร.บุญสิทธิ์ ไชยชนะ รองหัวหน้าโครงการ ดร.ศิริชัย นามบุรี ดร.ตายูดิน อุสมาน และคณะทำงานประสานงานในพื้นที่ ได้มีการประชุมหารือเพื่อวางกรอบงาน แนวทาง และการมอบหมายงานให้คณะทำงานในพื้นที่ ดำเนินการลงพื้นที่ เพื่อสำรวจ เลือกปัญหาภายในชุมชน เช่น เลือกคณะทำงาน กำหนดกิจกรรม กำหนดปัญหา และจัดเวทีพูดคุยประเด็นปัญหา ซึ่งเกี่ยวกับธรรมาภิบาล พลเมือง ประชาธิปไตย และจัดทำโครงการเสนอต่อโครงการสะพานมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาพิจารณา



ในส่วนกิจกรรมที่จะดำเนินการในพื้นที่ มี 6 กิจกรรมด้วยกัน คือกิจกรรมของเยาวชน 2 กิจกรรมๆ ละ 70,000 บาท และภาคประชาชน 4 กิจกรรมๆ ละ 130,000 บาท 

ดร.ศิริชัย นามบุรี เสนอแนะเพิ่มเติมว่า กิจกรรมหรือเครื่องมือที่สามารถบูรณาการก็คือ Facebook เช่น การนำเสนอการใช้งบประมาณ การติดตามงบประมาณ พลังพลเมือง โดยสื่อผ่านหนังส้ัน ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว

สรุปประเด็นสำคัญก็คือ สร้างทีมงานให้มีการทำงานร่วมกัน การดำเนินงานตามแผน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

เวลา 11.10 น. ทางคณะทำงานโครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย นำโดย ดร.ตายูดิน อุสมาน และคณะทำงาน ได้เข้าพบและร่วมแสดงความยินดีกับอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อธิการบดีได้ให้โอวาทและกำลังใจคณะทำงาน เพื่อให้ดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ต่อไป









วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

กิจกรรมประชุมกลางปี (Mid-Project Meeting) โครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย

วันที่ 16-17 กันยายน 2556 คณะทำงานโครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ปีที่ 3 ประกอบด้วย ดร.บุญสิทธิ์ ไชยชนะ รองหัวหน้าโครงการ ดร.ศิริชัย นามบุรี ดร.ตายุดิน อุสมาน และ ผศ.สมศักดิ ด่านเดชา คณะกรรมการประสานงานโครงการ เข้าร่วมประชุม Mid-Project Meeting เพื่อรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานโครงการในปีที่ 3 ณ ห้องลีลาวดี โรงแรมรามาการ์เด้น กรุงเทพมหานคร  กิจกรรมนี้ มีมหาวิทยาลัยต่างๆ ในเครือข่ายเข้าร่วมกิจกรรมอีก 5 มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร
มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยได้ดำเนินงานก้าวหน้าไปตามแผนและเป็นไปตามลำดับที่กำหนดไว้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ แต่ละมหาวิทยาลัยสามารถนำจุดเด่นของแต่ละมหาวิทยาลัยไปปรับใช้กระบวนการทำงานของแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะการเลือกใช้และการค้นหาเครื่องมือธรรมภิบาลท้องถิ่น (
Local Governance: LG) ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 
    

          สำหรับการดำเนินงานในกิจกรรมด้านการพัฒนาตัวชี้วัดธรรมาภิบาลระดับจังหวัด (Provincial Governance index: PGI) ที่ประชุมได้นำเสนอประเด็นของการปรับสอบถามการศึกษาดัชนีธรรมาภิบาลระดับจังหวัด ซึ่งแบ่งกรอบการวัดระดับความเป็นธรรมาภิบายจังหวัด เป็น 6 ประเด็น ประกอบด้วย (1) ด้านความโปร่งใส (Transparency) (2) ด้านภาระรับผิดชอบ (Accountability)  (3) ด้านการมีส่วนร่วม (Participation)  (4) ด้านนิติธรรม (Rule of Law)  (5) ด้านการทุจริต (Corruption)  และ (6) ด้านการให้บริการสาธารณะ   โดยกำหนดกรอบในการถามในลักษณะของการให้บริการของรัฐของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด แบ่งเป็น 1) ด้านบริการด้านสุขภาพ 2) ด้านบริการการศึกษา 3) ด้านสวัสดิการและความมั่นคง 4) ด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกิจกรรมนี้มี ศูนย์ผู้นำธุรกิจเพื่อสังคมแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนาเครื่องมือแบบสอบถาม และลงพื้นที่เก็บข้อมูลร่วมกับมหาวิทยาลัยอีก แห่ง คือ  มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยโดยในเบื้องต้นที่ประชุมมีมติให้ ศูนย์ผู้นำธุรกิจเพื่อสังคมแห่งมหาวิทยาลัยเษตรศาสตร์ ไปปปรับข้อคำถามให้เหมาะสม โดยเน้นการใช้คำถามในลักษณะถามประสบการณ์ของประชาชนที่ได้รับบริการจากภาครัฐ โดยเฉพาะเน้นหน่วยงานระดับจังหวัด โดยทางศูนย์ผู้นำธุรกิจเพื่อสังคมแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะได้นำเสนอแบบสอบถามให้มหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องได้ร่วมตรวจสอบต่อไป พร้อมกันนี้ที่ประชุมได้ร่วมกันกำหนดแผนงานที่จะลงพื้นที่เพื่อคัดเลือกและฝึกอบรมผู้เก็บข้อมูลในพื้นที่ รวมถึงกิจกรรมคืนข้อมูลให้แก่พื้นที่ของแต่ละมหาวิทยาลัยในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2557 ต่อไป [ดูภาพเพิ่มเติม...]