วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Thai Community Score Card เครื่องมือที่ทำให้ประชาชนมีสิทธิ์มีเสียงในฐานะพลเมืองของสังคม

บัตรคะแนนศักยภาพชุมชน (CSC) หรือเรียกว่า Balance Score Card และ People Score Card นั้น เป็นเครื่องมือช่วยแก้ปัญหาที่เกิดจากการให้บริการที่ต่ำกว่ามาตรฐานของภาครัฐ โดยมีคำจำกัดความ ที่ช่วยให้ความเข้าใจเพิ่มเติมดังนี้
  • เป็นเครื่องมือที่พัฒนาศักยภาพในชุมชน
  • เป็นเครื่องมือส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
  • เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบการทำงานของภาครัฐและบริการสาธารณะ
  • เป็นเครื่องมือที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีสิทธิมีเสียง
  • เป็นเครื่องมือที่ทำให้ชาวบ้านแก้ปัญหาร่วมกับหน่วยงานของรัฐ
  • เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างมีระบบ
  • เป็นเครื่องมือที่พัฒนาศักยภาพในชุมชน
ผลจากการนำ Balance Score Card และ People Score Card ไปใช้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้และส่วนอื่นๆ ซึ่งได้รับผลการตอบรับการใช้เครื่องมือดังกล่าวด้วยดี โครงการสะพานโดยการสนับสนุนจากองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (United State Agency International Development: USAID) จึงนำเสนอองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีไว้ในเว็บไซต์ http://www.thaiscorecard.org/#top  ผู้สนใจหรือเครือข่ายภาคประชาสังคมสนใจนำไปใช้ประโยชน์ศึกษาได้จากเว็บไซต์ดังกล่าว

คณาจารย์และเครือข่ายภาคประชาสังคมมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเข้าร่วมประชุมสัมมนาปิดโครงการสะพานฯ

ดูภาพกิจกรรมเพิ่มเติม...
โครงการสะพานโดยการสนับ
สนุ
นจากองค์การเพื่อการพัฒนา

ระหว่างประเทศของสหรัฐ
อเมริกา
 (United State Agency International Development: USAID) ได้เริ่มโครงการเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตย การสร้างธรรมาภิบาล สิทธิพลเมืองในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 จนถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2558 โดยมีกลุ่มภาคประชาสังคมต่างๆ ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ รวมทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้รับการสนับสนุนให้ดำเนินงานโครงการและกิจกรรมต่างๆ  เยาวชนและประชาชนภาคประชาสังคม องค์กรเอกชนไม่หวังผลกำไรที่เข้าร่วมโครงการ ก็มีโอกาสพัฒนาตนเอง ทั้งภาวะผู้นำ การพัฒนาทักษะการใช้เครื่องมือและเทคนิคต่างๆ ในการดำเนินงานในโครงการ จนกระทั่งมีความรู้ความสามารถในด้านการพัฒนาในพื้นที่ และมีความเข้าแข็งมาจนถึงปัจจุบัน

      มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเอง ในฐานะเป็นมหาวิทยาลัยในพื้นที่ได้บันทึกข้อตกลงร่วมกิจกรรมกิจกรรมกับโครงการสะพานฯ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 จนถึงปัจจุบันในปี พ.ศ. 2558 โดยระหว่างวันที่ 10-11 สิงหาคม 2558 ที่ผ่านมา ได้มอบหมายให้คณาจารย์และเครือข่ายภาคประชาสังคมของมหาวิทยาลัยฯ จำนวน 5 ท่าน ประกอบด้วย ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีที่กำกับและประสานงาน ดร.ตายุดิน อุสมาน และ อ.อารยา ชินวรโกมล อาจารย์จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นายพงษ์พันธุ์ ไชยเศรษฐ์สัมพันธ์ และนายริดวาน ดาหะมิ เครือข่ายภาคประชาสังคมในพื้นที่ ได้เข้าร่วมกิจกรรมถอดบทเรียน สรุป และประเมินผลการดำเนินงานโครงการสะพานในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเรียกว่ากิจกรรม Final USAID Sapan Program Meeting -Deep South จัดขึ้น ณ โรงแรมหาดใหญ่เซ็นทารา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยมีเครือข่ายจากภาคประชาสังคมอื่นๆ ในพื้นที่เข้าร่วมกว่า 40 คน ผลการถอดบทเรียนจากสิ่งที่ได้จาโครงการสะพานฯ ปัญหา อุปสรรค และสิ่งที่อยากให้ดำเนินการต่อในพื้นที่  จะได้นำข้อมูลไปเสนอ USAID เพื่อขออนุมัติโครงการในระยะยาวต่อไป ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าโครงการสะพานฯ จะได้กลับเข้ามาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้อีกครั้งเร็วๆ นี้ ทั้งนี้เพื่อร่วมกันพัฒนาความเข้มแข็งภาคประชาสังคม ส่งเสริมการพัฒนาบทบาทสตรีและสิทธิทางเพศ  การพัฒนาคุณภาพด้านสื่อสารมวลชนในพื้นที่ รวมทั้งการพัฒนาโอกาสการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ให้มากขึ้นและเป็นไปอย่างยัั่งยืนต่อไป