เมื่อวันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2555 เวลา 08.00-17.00 น. คณะกรรมการกลุ่มวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning: AL) โครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดกิจกรรมนำเสนอความก้าวหน้าโครงการวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ครั้งที่ 1 ณ ห้องประชุมศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
การจัดกิจกรรมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเวทีนำเสนอผลการดำเนินงานและความก้าวหน้าของการวิจัย ที่โครงการสะพานเสริมประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยการสนับสนุนของ USAID ให้ทุนวิจัยแก่ นักศึกษาปริญญาตรี 5 ทุน ปริญญาโท 5 ทุน และภาคประชาสังคม (CSO) จำนวน 9 ทุน รวมทั้งหมด 19 ทุน ในพื้นที่วิจัย 3 จังหวัด คือ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เพื่อทำวิจัยในลักษณะของการถอดบทเรียนแนวปฏิบัติที่ดีในประเด็นที่กำหนดไว้ [ตามกรอบของข้อเสนอโครงการที่กำหนด...] โดยทำวิจัยในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ซึ่งการนำเสนอความก้าวหน้าครั้งนี้ มีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากกลุ่ม Action Learning ประกอบด้วย อ. ซูลฟีกอร์ มาโซ, อ.นูรีดา จะปะกียา, อ.มะเสาวดี ไสสากา, คุณรอซีดี เลิศอริยพงษ์กุล, คุณมหามะบักรี ลือบาฮางุ, คุณดนยา สะแลแม และ อ.ทัศนา เกื้อเส้ง โดยมี ดร.ศิริชัย นามบุรี หัวหน้ากลุ่มวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning: AL) เป็นประธานในพิธีเปิดและเวทีการนำเสนอ
นอกจากนั้น อาจารย์ ดร.เนาวรัตน์ ตรีไพบูลย์ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการวิจัย ได้ให้เกียรตินำนักศึกษาปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา บริหารการศึกษา จำนวนกว่า 30 คน เข้าร่วมฟังการนำเสนอความก้าวหน้าผลการวิจัยครั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การเข้าร่วมประชุมสัมมนาทางวิชาการ เพื่อเป็นแนวทางในการนำเสนอผลงานวิชาการของตนเอง ซึ่งเป็นเงื่อนไขการสำเร็จการศึกษาของหลักสูตรต่อไป [ภาพประกอบเพิ่มเติม...]
วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
กำหนดการนำเสนอความก้าวหน้างานวิจัย ครั้งที่ 1
ประกาศ
- 08.00-08.30 น. ลงทะเบียน
- 08.30 - 09.00 น. พิธีเปิด โดย ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ (หัวหน้าโครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย มรย.) เป็นประธาน และ ดร.ศิริชัย นามบุรี หัวหน้าโครงการวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ กล่าวรายงาน
- 09.00-10.30 น. นำเสนอความก้าวหน้าโครงการวิจัย (แยกเป็น 3 กลุ่ม ตามพื้นที่จังหวัด)
- 10.30 - 10.45 น. รับประทานอาหารว่าง
- 10.45-12.00 น. นำเสนอความก้าวหน้าโครงการวิจัย (ต่อ)
- 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
- 13.00 - 14.30 น. นำเสนอความก้าวหน้าโครงการวิจัย (ต่อ)
- 14.30 - 10.45 น. รับประทานอาหารว่าง
- 14.45 - 16.00 น. สรุปผลการนำเสนอความก้าวหน้าโครงการวิจัย
- 16.00 - 16.30 น. พิธีปิดการนำเสนอโดย โดย ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ (หัวหน้าโครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย มรย.) เป็นประธาน
- สำเนาข้อเสนอโครงการ
- สไลด์นำเสนอความก้าวหน้าโครงการ (ตามลำดับในรายงานการวิจัย)
- ร่างรายงานการวิจัย (ตามแบบฟอร์มที่โครงการกำหนด)
- ข้อมูลที่ควรนำมาประกอบการรายงานความก้าวหน้า เช่น เครื่องมือการวิจัย เอกสาร/รายงานที่เกี่ยวข้องที่ได้จากการลงพื้นที่ กำหนดการการจัดกิจกรรม ภาพประกอบการจัดกิจกรรม
- เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- นำเสนอโครงการละ 20 นาที
- คณะกรรมการซักถามและให้ข้อเสนอแนะ 10 นาที
- ทุกโครงการที่ได้รับทุนต้องเข้าร่วมนำเสนอความก้าวหน้าโครงการวิจัย ครั้งที่ 1
- กรณีมีข้อสงสัยประการใด โปรดสอบถาม ดร.ศิริชัย นามบุรี 084-1968099
วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
คณะกรรมการ Action Learning ติดตามโครงการวิจัยพื้นที่ชุมชนตลาดเมืองใหม่ จ.ยะลา
วันที่ 16 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09.00-12.00 น. คณะกรรมการโครงการวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning) ประกอบด้วย ดร.ศิริชัย นามบุรี อ.ซุลฟีกอร์ มาโซ อ.นูรีดา จะปะกียา และคุณพารีซัน มะ ลงพื้นที่ติดตามโครงการวิจัยของนักศึกษาปริญญาตรี 2 โครงการ ในพื้นที่ชุมชนตลาดเมืองใหม่ เขตเทศบาลนครยะลา อ.เมือง จ.ยะลา โดยมีโครงการวิจัยของนักศึกษาปริญญาตรี 2 โครงการจัดกิจกรรมเปิดตัวโครงการและทำกิจกรรมเสวนากลุ่ม (Focus Group) และการสัมภาษณ์เชิงลึก ได้แก่ โครงการวิจัยเรื่อง การจัดการความขัดแย้งในชุมชนตลาดเมืองใหม่ โดยมีนางสาวนารีดา สาระ และทีมนักศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ฯ เป็นผู้วิจัย และโครงการวิจัยเรื่อง การบริหารจัดการโรงเรียนตาดีกาดารุลมุฮาญีริน โดยมีนางสาวรีนา และแดง และทีมงานเป็นผู้วิจัย
สำหรับการติดตามประเมินผลในพื้นที่ครังนี้ พบว่า ชุมชนตลาดเมืองใหม่ อ.เมือง จ.ยะลา มีการบริหารจัดการโรงเรียนตาดีกาดารุลมุฮาญีริน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดจากความร่วมมือของชุมชน กรณีมีความขัดแย้งในชุมชน โดยเฉพาะในด้านการบริหารจัดการพื้นที่ในตลาด ก็สามารถใช้แนวทางการเจรจาต่อรองเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งให้สามารถดำเนินวิถีชีวิตของชุมชนต่อไปได้ [ดูภาพเพิ่มเติม...]
สำหรับการติดตามประเมินผลในพื้นที่ครังนี้ พบว่า ชุมชนตลาดเมืองใหม่ อ.เมือง จ.ยะลา มีการบริหารจัดการโรงเรียนตาดีกาดารุลมุฮาญีริน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดจากความร่วมมือของชุมชน กรณีมีความขัดแย้งในชุมชน โดยเฉพาะในด้านการบริหารจัดการพื้นที่ในตลาด ก็สามารถใช้แนวทางการเจรจาต่อรองเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งให้สามารถดำเนินวิถีชีวิตของชุมชนต่อไปได้ [ดูภาพเพิ่มเติม...]
วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
คณะกรรมการการวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติลงพื้นที่ ต.อาเนาะรู อ.เมือง จ.ปัตตานี

จากการร่วมสังเกตการณ์ของการเวทีเปิดตัวโครงการวิจัย พบว่า ความเข้มแข็งของสมาชิกกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนและชุมชนของสมาชิกในชุมชนพหุวัฒนธรรม ทั้งพี่น้องชาวไทยพุทธ ไทยมุสลิม และชาวไทยเชื้อสายจีน นับเป็นจุดเด่นของชุมชนแห่งนี้ ซึ่งการพัฒนาชุมชนอย่างมีส่วนร่วมของมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ วัด โรงเรียน และชุมชน ซึ่งมีลักษณะเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมในเขตเมืองที่ยังคงเอกลักษณ์ความสามัคคี การช่วยเหลือเกื้อกูล เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน นับเป็นสังคมที่เป็นแบบอย่างของสังคมสันติสุขใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ [ดูภาพประกอบเพิ่มเติม...]
วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
โครงการวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning) จัดอบรมพัฒนานักวิจัย ครั้งที่ 1
วันที่ 10 พฤศจิกายน 2555
เวลา 08.00-17.00 น. คณะกรรมการโครงการวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ
(Action Learning: AL) ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการหลักของโครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ปี 2 (ประจำปีงบประมาณ 2555) ได้จัดกิจกรรมอบรมปฏิบัติการ
เรื่อง การแลกเปลี่ยนและการถอดบทเรียนองค์ความรู้ชุมชน ขึ้น ณ ห้องประชุมรามัญ
อาคารยะลาพาเลส เพื่อเสริมความรู้
ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับเทคนิคการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการถอดบทเรียนองค์ความรู้จากชุมชน
ซึ่งนับเป็นกิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักวิจัยที่ได้รับทุนวิจัย
(จำนวน 19 ทุน) จากโครงการวิจัย “การเรียนรู้จากการปฏิบัติ” โดยเน้นการนำความรู้และทักษะที่ได้ไปใช้ในการถอดบทเรียนจากแนวปฏิบัติที่ดี
(Good Practice) ในชุมชนในประเด็นต่าง ๆ ตามข้อเสนอโครงการวิจัยที่ได้รับการอนุมัติทุนสนับสนุน
เช่น การบริการจัดการองค์กรที่ดีในชุมชน
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการ การจัดการความขัดแย้ง
การสร้างสมานฉันท์ในสังคมพหุวัฒนธรรม เป็นต้น
ในการจัดอบรมปฏิบัติการครั้งนี้
มีนักวิจัยซึ่งมาจากทั้งภาคประชาสังคม นักศึกษาระดับปริญญาตรี และนักศึกษาระดับปริญญาโท
เข้าร่วมอบรมโครงการละ 2 คน อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการวิจัย จำนวน 6 คน พร้อมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอีก
จำนวน 7 คน รวมผู้เข้าอบรมในกิจกรรมครั้งนี้
จำนวนกว่า 50 คน ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ หัวหน้าโครงการสะพานฯ
เป็นประธานเปิดงานและให้โอวาทแก่ผู้เข้าอบรม กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมการอบรมโดย
ดร.ศิริชัย นามบุรี หัวหน้าโครงการวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ และได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
คือ คุณสงัด พืชพันธุ์
นักพัฒนาชุมชนชำนาญการ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขานุการรองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้
(ศอ.บต.) และทีมงานวิทยากรอีก 2 ท่าน ที่มีประสบการณ์ในการทำงานในชุมชนเขตพื้นที่
3 จังหวัดชายแดนใต้ร่วมเป็นวิทยากร
ผลการจัดอบรมปฏิบัติการในครั้งนี้
ทำให้ผู้เข้าอบรมทั้งนักวิจัยและอาจารย์ที่ปรึกษา ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการถอดบทเรียน การเลือกใช้เครื่องมือสำหรับถอดบทเรียน
เทคนิคในการถอดบทเรียน เทคนิคการลงชุมชน รวมทั้ง มีกิจกรรมแบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างวิทยากรกับนักวิจัยที่ได้ลงพื้นที่และดำเนินงานกิจกรรมบางส่วนของโครงการวิจัยไปแล้วเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคในการถอดบทเรียนและการเขียนรายงาน
รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมได้ซักถามในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง [เอกสารประกอบ...] [ดูภาพเพิ่มเติม...]
วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
เปิดตัวโครงการและกิจกรรมการวิจัย Action Learning ชุมชนโสร่ง ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี
วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2555 เวลา 10.00 น. คณะกรรมการดำเนินงานโครงการวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning: AL) โครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ซึ่งประกอบด้วย ดร.ศิริชัย นามบุรี หัวหน้าโครงการ อ.ซุลฟีกอร์ มาโซ อ.นูรีดา จะปะกียา คณะกรรมกมรและคุณพารีซัน หะ เจ้าหน้าที่่ประสานงานโครงการสะพานส่งเสริมประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เข้าร่วมติดตามกิจกรรมเปิดตัวโครงการวิจัยและการทำกิจกรรมเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยในพื้นที่ ม. 3 ชุมชนโสร่ง ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี โดยมีโครงการวิจัยในพื้นที่ชุมชนโสร่งนี้ จำนวน 3 โครงการ ประกอบด้วย ดังนี้
- การบริหารจัดการดูแลความปลอดภัยของชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) : กรณีศึกษาชุมชนโสร่ง ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี โดยมีนายอาลี มะดือเระ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย (ภาคประชาสังคม)
- การบริหารจัดการกองทุนชุมชน: กรณีศึกษากองทุนอัลอะมานะฮฺ (โสร่งดารุลอามาน) บ้านโสร่ง โดยมี นายอิสมะแอ หะยีสาและ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย (นักศึกษาระดับปริญญาโท)
- การจัดการปัญหาความขัดแย้งด้านการวางผังเมืองชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (ชุมชนบาลาเซาะโต๊ะมุ) หัวหน้าโครงการวิจัยคือ นางสาวปัทมาวาตี มะสาวา และนายฮัมดี บินหะรงค์ (นักศึกษาระดับปริญญาตรี)
การลงพื้นที่ชุมชนโสร่ง ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี ในครั้งนี้ เป็นกิจกรรมหนึ่งของคณะกรรมการประเมินและติดตามโครงการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการให้กำลังใจและให้ข้อเสนอแนะในกระบวนการดำเนินการวิจัยแก่นักวิจัย ผลการติดตามประเมินผลครั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดียิ่งจากคณะนักวิจัยและสมาชิกชุมชนที่เข้าร่วมวิจัย คณะกรรมการโครงการวิจัยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning) ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ [ดูภาพเพิ่มเติม...]
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)